พระพิษณุโลก | Prapsl.com

พระพิษณุโลก | Prapsl.com

ลำดับ 420 เหรียญปลอดภัย หวงพ่อสว่าง กำแพงเพชร

  
                          เหรียญปลอดภัย หลวงพ่อสว่าง

PDFพิมพ์อีเมล
ประวัติ หลวงพ่อสว่าง (พระวิบูลวชิรธรรม) วัดคฤหบดีสงฆ์ (วัดท่าพุทรา)

ประวัติหลวงพ่อสว่าง เป็นบุตรของขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) กำนันตำบลท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ กับคุณแม่หอม เจริญศรี เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2426 ตรงกับขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เป็นบุตรคนสุดท้ายที่เป็นชายส่วนคนก่อน ๆ ล้วนเป็นหญิง
การศึกษา
หลวงพ่อสว่าง (พระวิบูลวชิรธรรม) - ปี 2438 – 2445 เข้าเรียนอักขระมูลกัจจายน์และอักษรขอมกับพระครูบรรพโตปมญาณ (หลวงพ่อเผือก) และพระอาจารย์สด (พระครูสวรรค์วิถี) ที่วัดหัวดง ซึ่งเป็นสำนักเรียนอักขระมูลกัจจายน์ที่ยิ่งใหญ่ในยุคนั้น ตำบลหัวดง อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์เมื่ออายุ 13 – 20 ปี อายุครบ 20 ปี ทำการอุปสมบทที่วัดขุนญาณ ตำบลคลองเมือง อ.กรุงเก่า จ.พระนครศรีอยุธยา โดยพระอุปัชฌาย์ คือ พระญาณไตรโลกย์ (สะอาด)เป็นเกจิอาจารย์ในอยุธยา ผู้สร้างพระเม็ดน้อยหน่าผงดำเนื้อจัดลงรักน้ำเกลี้ยงปิดทอง หลังยันต์อุหายากที่พบเห็นทั่วไปเป็นของเทียมเลียนแบบ

ต่อมาหลวงพ่อสว่างได้สร้างพระขึ้น บางพิมพ์ทำเป็นพระเนื้อผงดำเคล้ารักเนื้อจัดแห้งเป็นมันเลื่อม เช่น พิมพ์เล็กสมเด็จขาโต๊ะ พระซุ้มกอดำสมเด็จพระครูมูลพิมพ์มีหน้าตา) เมื่อวันพุธที่ 3 ธันวาคม 2445 และศึกษาพระธรรมวินัยบาลี ที่วัดศาลาปูนเป็นเวลา 2 ปี

- 2447 กลับไปเรียนพระปริยัติธรรมพระธรรมวินัยต่อที่วัดหัวดงฯ จ.นครสวรรค์
- 2447 – 2448 ไปจำพรรษาที่วัดท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย
- ปี 2448 – 2449 ไปศึกษาพระธรรมที่วัดมณีบรรพต จังหวัด ตาก 

กลับมาวัดท่างิ้วเป็นช่วงพระอาจารย์ปั้น เจ้าอาวาสวัดมรณภาพลงในปี 2457 เจ้าคณะอำเภอจึงแต่งตั้งท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดแทนขณะอายุได้ 30 ปี พรรษาที่ 10 ซึ่งหลวงพ่อได้ทำการปรับปรุง มณฑป เสนาสนะต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในกิจการสงฆ์เป็นการใหญ่ให้เป็นระเบียบ และสวยงาม ด้านความรู้ ความสามารถในเชิงมณฑณศิลป์และสถาปัตย์ที่มีอยู่ในตัวของหลวงพ่อในระดับสูงทำ การจัดตั้งสำนักพระปริยัติธรรมเป็นแห่งแรกในอำเภอบรรพตพิสัย เป็นที่ศึกษาแก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ในระยะเริ่มแรก 20 รูป ไปจนถึงปี 2499 พระนักธรรมเอก, นักธรรมโทและนักธรรมตรี ปีละประมาณถึง 100 รูป รวมเป็นเวลาของการตั้งสำนักพระปริยัติธรรมในปี 2457 ถึงปี 2499 รวม 42 ปี รวมเป็นพระภิกษุสงฆ์ สามเณรที่ผ่านไปจากวัดท่างิ้วจำนวนหลายพันองค์

การเลื่อนชั้นยศทางพระของหลวงพ่อสว่างปรากฏว่า ตั้งแต่ปี 2457 เป็นต้นไป ได้เลื่อนชั้นเป็นพระใบฎีกา, พระสมุห์, พระปลัด ในปี 2467 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลท่างิ้วและพระอุชปัชฌาย์ ปี 2470 ดำรงตำแหน่งพระครูวิบูลวชิรธรรม เจ้าคณะอำเภอขาณุวรลักษบุรี และกิ่งอำเภอจังหวัดกำแพงเพชร เมื่ออายุนับว่ายังน้อยเพียง 44 ปี พรรษาที่ 24 เท่านั้น อันแสดงถึงความเป็นอัจฉริยะทางศาสนาอย่างสูงสุด ในการบริหารงานทางศาสนาได้อย่างทรงประสิทธิภาพจนได้รับตำแหน่งในระดับสูง

ต่อมาในปี 2500 ขณะที่หลวงพ่อสว่าง มีอายุได้ 74 ปี พรรษาที่ 54 ซึ่งนับว่าสังขารนั้นอยู่ในขั้นชราภาพมากแล้ว อีกทั้งตรากตรำกับงานบริหารงานวัดท่างิ้ว งานสอนสำนักพระปริยัติธรรมที่มีนักเรียนทางพระถึงปีละ 100 รูป ต้องไปตรวจ บริหารสนับสนุนกิจการสงฆ์ไกลถึงอำเภอขาณุ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร โดยทางเรือคราวละเป็นเวลานับสิบ ๆ วัน สำนักพระปริยัติธรรม และวัดท่างิ้วในขณะนั้นเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน ประจวบเหมาะกับคณะสงฆ์และฆราวาสในตำบลท่าพุทรา อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ได้นิมนต์ท่านไปครองวัดท่าพุทรา อดีตเป็นวัดโบราณสร้างในยุคปลายกรุงศรีอยุธยา ซึ่งกำลังชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก ให้ฟื้นฟูขึ้นและเมื่อท่านรับนิมนต์ได้ไปดำเนินการให้กลายเป็นวัดที่เพียบ พร้อมในด้านถาวรวัตถุทุกสิ่งที่วัดเจริญอื่น ๆ มี ได้รับการยกให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง

ปี 2506 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอคลองขลุง,ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรในที่สุด ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2520 เวลา 14.30 น.เมื่อสิริอายุได้ 94 ปี 7 เดือน 25 วัน 74 พรรษาหลวงพ่อสว่างได้ละสังขารไว้ที่โรงพยาบาลกำแพงเพชร ในอาการสีหไสยาสน์นอนตะแคงซ้ายพนมมือพุทธะธรรมรำลึกด้วยอาการอันสุขสงบในอา นิสงฆ์ที่ท่านได้ประพฤติ ปฎิบัติในร่มผ้ากาวสาวพัตรครองสงฆ์โดยตลอด 74 พรรษา ได้อบรมสั่งสอน ให้มวลมนุษย์ได้บรรเทาทุกข์ ลดอบาย ละกิเสศ ในบวรพุทธศาสนา

ประมวลผลงาน

1. งานก่อสร้าง ถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนา ประเภทโบสถ์ ศาลา การเปรียญ กุฎิ หอฉัน หอสวดมนต์ ประปาวัดโรงเรียนปริยัติธรรมเท่าที่ได้จดบันทึกไว้
ในเขตอำเภอบรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์

1. วัดคงคาราม ต.วังยาง 2.วัดแม่ลาดใหญ่ 3. วัดแม่ลาดน้อย ต.แม่ลาด 4.วัดวังไทร 5.วัดมุจรินทร์ 6.วัดพิกุลทอง ต.หัวถนน 7.วัดอุเบกขาราม 8. วัดคฤหบดีสงฆ์-ท่าพุทรา 9.วัดแก้วศรีวิไล(ทุ่งทราย) 10. วัดโนนพลับ 11. วัดสันติวนาราม 12.วัดจันทาราม (หนองแขม) 13. วัดศรีภิรมย์ 14.วัดฤกษ์หร่าย 15. วัดสว่างอารมณ์ อ.ขาณุวรลักษบุรี
งานเผยแพร่พระศาสนา เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตให้การสอน อบรมธรรมะแก่ประชาชนในเขต อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ อ.คลองขลุง อ.ขาณุฯ จ.กำแพงเพชร

งานพิเศษ เข้าร่วมประชุมตรวจปัญหาธรรมศาสนาหลวง จ.อุทัยธานี ชัยนาท วัดมหาธาตุที่กรุงเทพฯ กิจรับนิมนต์ รับนิมนต์โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ไม่ถือมั่งมีหรือยากจน รับนิมนต์ไปทุกครั้ง
กิจวัตรอื่น ๆ ลงทำวัตรเช้า-เย็นในพระอุโบสถไม่เคยขาด เคร่งครัดในวินัย สำรวมในศีล ถือสันโดษไม่จับต้องเงินตรา ทรัพย์สิ่งของอันมีค่า ยกเว้นบรรดานุศิษย์หรือคฤหัสที่ให้ท่านช่วยอธิฐานจิตเป็นเงินขวัญถุงเท่า นั้นมีความเมตตา กรุณา มุทิตา แก่ผู้สนิทและผู้แปลกหน้า เป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทราแก่ผู้พบเห็น ไปแล้วจะกลับมาเยี่ยมนมัสการเสมอ

ถือ เป็นอานิสงค์ ได้บุญมหาศาลทั้งสำหรับบรรพชิด และฆราวาสผู้สร้าง เพื่อสืบทอดพระศาสนาเป็นเครื่องเตือนสติให้ทำแต่กรรมดี ละเว้นสิ่งชั่ว เป็นวัตถุมงคลที่ทำให้แคล้วคลาดจากปวงภัย มีความคงกระพัน ชาตรี บังเกิดเมตตา มหานิยม มหาเสน่ห์ อุดมโชคลาภ แก่กล้าบารมีเป็นที่ครั่นคร้ามแก่ผู้เป็นศัตรูผู้มุ่งร้าย ล้วนเป็นความเชื่อ และยึดมั่นสืบทอดนับกว่าพันปีจนถึงในปัจจุบัน

การสร้างมงคลวัตถุของหลวงพ่อสว่าง จะนำหน้าในด้านคงกระพัน ชาตรี แคล้วคลาดมหาอุด ซึ่งตัวหลวงพ่อสว่างเอง เมื่อสมัยหนุ่มก่อนวัยครบบวช มีความคงกระพันชาตรีเป็นเยี่ยมฟันแทงไม่เข้า ในฐานะศิษย์เอกของหลวงพ่อเผือก (พระครูบรรพโตมญาณ) แห่งวัดหัวดง อ.บรรพตพิสัย ประกอบกับเป็นลูกชายคนเดียวในลูกทั้งห้าคนและเป็นคนสุดท้อง ย่อมเป็นที่รักและตามใจของผู้หลักผู้ใหญ่ในครอบครัว 

อีกทั้งโยมบิดาเป็นกำนันตำบลท่างิ้ว เลยทำให้เหลิงวางตัวเป็นนักเลง อันธพาลในย่านตลาดส้มเสี้ยว ท่าตั้วเกา ระราน กลั่นแกล้ง สร้างความเดือดร้อน ฝากความเจ็บแค้น ผูกอาฆาตให้แก่ผู้อื่นที่ต้องชำระล้าง ในยุคนั้นเป็นยุคของผู้แก่กล้าทางคาถาอาคม แขวนเครื่องราง สิ่งวิเศษประจำกาย การกลัวเกรงกัน ก็เฉพาะแก่ผู้ที่เหนือกว่าในทางเดียวกัน เนื่องจากมีคู่อริจำนวนมาก โยมบิดาจึงฝากหลวงพ่อเผือกวัดหัวดง พาหลวงพ่อสว่าง ซ่อนลงในเรือไปออกบวชที่วัดศาลาปูน, อยุธยา ซึ่งลงโบสถ์เป็นลูกศิษย์พระญาณไตรโลก (ลป. สอาด) พระอุปัชฌาย์พร้อมกับพระเกจิผู้ขมังเวทย์แห่งจังหวัดอุทัยธานี คือ พระอุทัยกวีอดีตเจ้าคณะจังหวัด

นอก จากสร้างมงคลวัตถุทางด้านคงกระพันชาตรีแล้ว ทางด้านโชคลาภ มหาเสน่ห์ เมตตา หมานิยม ท่านก็ทำไว้ เช่น เหรียญขวัญถุง นางกวักมหาลาภ ค้าขายร่ำรวยที่ทำขึ้นจากผงยันต์มหาราช ตรีนิสิงเห ว่านมหาลาภ ว่านมหาเสน่ห์ ว่านสาวหลง ทำจากงาแกะในลักษณะนางกวักคล้ายกับนางกวักของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์

หลวงพ่อสว่าง เป็นพระนักแหล่ด้วยมีสำเนียงไพเราะเป็นที่ชื่นชอบของญาติโยม ท่านจึงรับนิมนต์ไปเทศแหล่ในจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคกลาง เช่น ที่อยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพฯ สุพรรณบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ เป็นต้น และไปเรียนวิชากับพระอาจารย์ที่แก่กล้าในวิทยาอาคมขลังในจังหวัดเหล่านั้น เช่น วิชาหินเบาให้ร่างกายเป็นชาตรีกับ หลวงปู่กลั่นวัดพระญาติ เป็นวิชาที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้าใช้ในการตีค่ายพม่าทรงพระแสงดาบคาบ ค่าย นำปีนตีพม่า ถูกตัดท่อนซุงทิ้งต้องพระองค์ตกค่ายลงไปไม่เป็นไร และตีค่ายพม่าจนสำเร็จกอบกู้เอกราชให้แก่ชาติไทย 

วิชานี้ของหลวงพ่อสว่าง ใช้กับวัตถุมงคลผู้ประสบอุบัติเหตุรถคว่ำทุกรายรถจะพังยับเยิน แต่ผู้มีวัตถุมงคลของหลวงพ่อสว่างไม่เป็นไร วิชาฝังตะกรุดเช่นเดียวกับ อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ วิชาฝังเข็มอาจารย์ฟ้อน ดีเสมอ ผู้มีวัตถุมงคลของหลวงพ่อสว่าง ถูกยิงด้วยกระสุนปืน เหรียญวัตถุมงคลของหลวงพ่อสว่างแสดงปฎิหารย์ เข้ารับกระสุนปืนแทนทำให้ผู้ถูกยิงปลอดภัยอย่างเหลือเชื่อ ถูกคนร้ายขโมยรถวิ่งผ่านหน้าท่าพุทรา รถยนต์วิ่งกลับและเครื่องดับคนร้ายขโมยเรารถไปไม่ได้ 

เรียนวิชามหาอุดเช่นเดียวกับหลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า ทำให้กระสุนปืนด้าน ลั่นไกกระสุนไม่ออกจากลำกล้อง วิชาแคล้วคลาด ทำให้ผู้มีวัตถุมงคลของหลวงพ่อสว่าง ถูกยิงด้วยปืนในระยะประชิดตัว ลูกกระสุนออกจากลำกล้อง แต่กระสุนโค้ง ยิงหมดกระสุนในรังเพลิงแต่ไม่ถูกตัวผู้ยิง เป็นต้น

นอก จากเรียนเพิ่มเติมวิทยาอาคมแล้วพร้อมกับหาวัตถุมงคลอันเป็นมงคล สิ่งวิเศษที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ได้แก่ ว่าน แร่ คด กลับไปทำผสมใส่ลงในพระเครื่องของท่าน
แบบ พระเครื่องของท่านหลายแบบ ไปพ้องกับพระเครื่องของพระเกจิอาจารย์องค์อื่น ๆ เช่นสมเด็จอินโดจีนฐาน 5 ชั้น รุ่นออกวัดท่างิ้วตั้วเกาไปเหมือนกับพระของหลวงพ่อกร้าย วัดมักกะสัน กรุงเทพฯที่ออกในช่วงปี 2480-2490 

นางสามเหลี่ยมทรงสมาธิฐานบัวฟันปลายของหลวงพ่อสว่างไปเหมือนกับหลวงพ่อที่จังหวัด ปทุม แต่ต่างกันตรงที่พระเครื่องของหลวงพ่อสว่างหลังเรียบไม่มีลายมือใหญ่และหนากว่า พระเม็ดมะขามเนื้อดินของหลวงพ่อสว่างไปคล้ายกับหลวงพ่อขอม, วัดไผ่โรงวัว, สุพรรณบุรี แต่ของหลวงพ่อสว่างเป็นเนื้อแร่ก้อนแบบพระหลวงพ่อปาน, บางนมโค ส่วนของหลวงพ่อขอมเป็นดินละเอียดไม่มีผงวิเศษที่เป็นผงอิทธิเจจุดขาว ๆ อันเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของหลวงพ่อปลอดภัย

การปลุกกระแสพระเครื่อง

วัตถุมงคลของหลวงพ่อสว่างเกิดเหตุการณ์มหัศจรรย์บ่อยครั้งต่อผู้พบเห็น เช่นหลวงพ่อชื่นวัดสระแก้ว (วัดกิโล 8) เคยเล่าให้ฟังว่า ในพิธีปลุกเสกพระเครื่องให้วัดโค้งวิไล วัดสิงคาราม ที่ออกในปี 2517 ในโบสถ์วัดท่าพุทรา ร่างของหลวงพ่อสว่างลอยขึ้นได้จากอาสนะประมาณ 1 ศอก ที่ปลุกเสก บินขึ้นเวียนว่อนกลางอากาศเหมือนถูกลมบ้าหมูหอบขึ้นต่อหน้าผู้อยู่ร่วมพิธีเป็นร้อย เหรียญที่ปลุกเสกกระดุกกระดิกได้เหมือนกุ้งเต้น ได้ยินเสียงกุ๊งกริ๊งตลอดเวลาการท่องคาถาปลุก

การสร้างวัตถุมงคล

ประเภท เครื่องรางของขลัง หลวงพ่อสว่างสร้างรวมเป็น 2 ยุค คือ ยุคที่ครองวัดคหบดีสงฆ์ ท่าพุทรา ต.ท่าพุทรา อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร ตั้งแต่ปี 2501-2519 จำนวน 19 ปี เป็นเหรียญรูปหล่อเล็ก-หล่อใหญ่ พระเนื้อผงเนื้อดินผสมว่านร้อยแปด หนังหน้าผากเสือตระกรุด ผ้ายันตร์ ธงกันภัย และยุคก่อนสมัยครองวัดท่างิ้วตั้วเกา อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ประมาณปี 2470-2500 รวม 30 ปี เป็นประเภท พระเนื้อผงเนื้อดินผสมผงวิเศษสูตรสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี 5 ประการผสมว่านร้อย


หนังสือรวมวัตถุมงคลหลวงปู่พระวิบูลวชิรธรรม(สว่าง เจริญศรี)วัดคฤหบดีสงฆ์(ท่าพุทรา)จังหวัดกำแพงเพชรหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมวัตถุมงคลของหลวงปู่ไว้มากที่สุดสมบูรณ์มากที่สุดครบทุกพิมพ์มีหนังสือเล่มนี้ใว้เป็นคู่มือศึกษาโดยเฉพาะวัตถุมงคลเหรียญปลอดภัย ปี พ.ศ. 2510 เป็นวัตถุมงคลที่ทรงอานุภาพมากของหลวงปู่ ผู้มีไว้ติดตัวปลอดภัยจากภยันตรายทุกประการ เป็นที่รู้จักทั่วประเทศ จากเหนือจรดใต้ ออกจรดตก
เหรียญปลอดภัย หลวงปู่สร้างไว้เป็นจำนวนมาก รุ่นปี 2510 จำนวน 6 แม่พิมพ์ ดังต่อไปนี้
1. รุ่น “ปอขีด” อัลปาก้าแก่ทอง
จำนวนสร้างประมาณ 1,000 เหรียญ เพื่อแจกในการทำบุญทอดกฐินวัดคฤหบดี (วัดท่าพุทรา) ในปี 2510 เป็นเหรียญรูปไข่เนื้ออัลปาก้า แบบเนื้อซ้อนซ่อมของประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 ที่นำมาแจกจ่ายในราชการทหาร โดยลักษณะเนื้อโลหะเป็นสีเหลืองอ่อน คล้ายเนื้อทองเหลืองขนาดของเหรียญ 2x3 ซม. หนา 2 มม. มีหูในตัว ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปหลวงปู่ครึ่งองค์ห่ามพาดจีวรเฉียงขอบเหรียญด้านบนเป็นอักษร ที่ระลึก “ปลอดภัย” โดยมีจุดสัญญลักษณ์สุดยอดนิยมตรงคำว่า ปลอดภัย เฉพาะตัวอักษร “ป. ปลา” ที่ขมวดหัว ป.ปลามีขีดลากลงเฉียงไปจรดมุม ป.ปลา อย่างเห็นได้ชัด อักษรด้านล่างรูปตรงขอบเหรียญพระวิบูลวชิรธรรม (อุตตโร) ส่วนด้านหลังเหรียญเป็นยันตร์น้ำเต้า และ 26 เม.ย. 2510 สำหรับความเป็นมาของการสร้างเหรียญปลอดภัย สืบเนื่องมาจากการประสบอุบัติภัยทางถนนของหลวงปู่ในต้นปี 2510 กล่าวคือ ในวันเกิดเหตุ หลวงปู่ได้รับนิมนต์จากลูกศิษย์ทางจังหวัดนครสรรค์ จึงออกรถจากวัดในตอนเช้ามือที่หมอกลงสลัวมืดครึ้ม ขณะจะผ่านตรงทางแยกทางเข้าเขาหน่อ เขต อ.บรรพตพิสัย นครสวรรค์ หลวงปู่บอกโชเฟอร์คนขับให้ระวังรถยนต์ที่จอดอยู่ข้างทาง แต่ไม่ทันเสียแล้ว เพราะโชเฟอร์ขับเร็ว ประสานงาเข้าอย่างจังกับรถที่จอดข้างทาง ด้วยความแรงของการพุ่งชน ทำให้ร่างหลวงปู่กระเด็นพุ่งออกจากรถ ส่วนรถยนต์ด้านหน้าย่นเข้าอัดคนขับเข้ากับพวงมาลัย นำออกจากรถไม่ได้ ทำให้หลวงปู่ซึ่งไม่เป็นอันตรายอันใดจากอุบัติเหตุ ต้องเป่าคาถานะปัดตลอด เป่าเอาคนขับออกจากรถ ซึ่งคนขับเพียงมีอากาเคล็ดขัดยอกไม่เป็นอันตรายอันใด ต่อมาหลวงปู่จึงสร้างเหรียญปลอดภัยอันทรงอานุภาพเป็นที่ระลึกจากอุบัติเหตุในครั้งนี้
2.เหรียยปลอดภัยเนื้ออัลปาก้า “ปอขีด” รุ่น 2
เนื้อแก่เงินจำนวนสร้าง 1,800 เหรียญ สร้างขึ้นอีกในปีเดียวกัน 2510 โดยใช้บล็อคแม่พิมพ์เดิม แต่เจือเนื้อเงินเป็นส่วนผสมเนื้ออัลปาก้า เหรียญรุ่นนี้จึงออกสีขาวกว่ารุ่นแรก
3.เหรียญปลอดภัย ปอขีดชุบ
ภายหลังที่เหรียญปลอดภัยขีดเนื้ออัลปาก้าหมดลง ความต้องการในเหรียญไม่ได้ลดน้อยลง หลวงปู่จึงดำเนินการจัดทำเหรียญปลอดภัยขึ้นใหม่ เป็นรุ่นที่ 3 ใช้แม่พิมพ์ “ป.ขีด” เดิม แต่ต่างกันที่ชุบกะไหล่ ดั่งในรูป สำหรับความนิยมวัตถุรุ่นนี้สภาพสวยกริ๊บ ๆ กำลังใกล้ถึงหมื่นเข้าไปทุกที อย่างในรูปไม่ต่ำกว่า 6 พันบาทขึ้น สำหรับ ป.ขีดชุบ นี้เมื่อ 15 ปีก่อนในราว ปี 2525 ราคาเหรียญหนึ่งไม่เกิน 2 ร้อยบาท
4. เหรียญปลอดภัย รุ่นบ่าแตก เป็นรุ่นที่ 4 ที่สภาพเหรียญเกือบเหมือนรุ่นที่ 3 แต่ต่างกันที่ คำปลอดภัย ตรง ป.ปลา ไม่มีขีด หรือไส้ในตัวอักษร แต่ทำเส้นแตกพาดตรงบ่าซ้ายของรูปหล่อหลวงปู่ เป็น 2 พิมพ์ คือ
4.1 พิมพ์บ่าแตกยาว จะปรากฏเส้นพาดจากด้านบนขอบเหรียญเหนือศรีษะหลวงปู่ทางด้านซ้ายตรงอักษรปลอดภัย พาดลงถึงศรีษะแล้วเว้นปรากฏตรงหูซ้ายพาดบ่าอังสะลงจรดขอบเหรียญด้านล่าง ตรงอักษร อ.ของ “อุตตะโร”
4.2 พิมพ์บ่าแตกสั้น
ปรากฏเส้นพาดจากหูซ้ายของหลวงปู่ลงบนอังสะเป็นเส้นบาง ๆ
ความนิยม นิยมในพิมพ์บ่าแตกยาวมากกว่าบ่าแตกสั้น เพราะการพิมพ์ปั้มได้คมชัดเจนกว่ากัน และคิดว่าต่อไปจะใกล้เคียงในราคากับ “ป.ขีดชุบ” เพราะนอกจากเหรียญรุ่นนี้จะป้องกันอุบัติเหตุทางรถยนต์เป็นเลิศเหมือนกันแล้ว ยังมีญาณเคลื่อนรับอันตรายแทนเจ้าของคงกระพันและเป็นมหาอุดด้วย
เมื่อปี 2535 ในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร ปรากฏข่าวใหญ่เกี่ยวกับเหรียญปลอดภัยเลื่อนขึ้นรับกระสุนช่วยชีวิตผู้คล้องเหรียญให้รอดตายอย่างสุดมหัศจรรย์ จากการถูกจ่อยิงในระยะเผาขน เรื่องนี้ในบรรดานักเล่นพระ นักเก็บสะสม ตลอดจนบรรดานักข่าวนักหนังสือพิมพ์ในท้องถิ่นเมืองกำแพง วงการตำรวจทราบดี สาเหตุเกิดจากการหยอกล้อเล่นคำกันในวงเหล้าของพรรคพวกเพื่อนฝูง ที่สังสรรค์กันในวงเหล้ารวมกัน 6 คน ในกลุ่มนั้นนักเล่นพระ ถามขอซื้อเพื่อที่แขวนเหรียญปลอดภัยรุ่นบ่าแตกสั้น เหรียญเดียวในคอผู้ถูกยิง และเสนอราคาขอซื้อ 8 ร้อยบาทซึ่งเป็นราคาเต็มเพดานของเหรียญบ่าแตกในยุคนั้น แต่กลับถูกผู้ยิงหลอกกลับไปว่า “ให้เอาไปแต่ห่วง” ทำให้ผู้เสนอราคาเกิดโทสะผลุนผลันผละออกไปจากวง กลับมาพร้อมกับลูกโม่จุด 38 มาตรฐานสากลนิยม จ่อยิงผู้ไม่ยอมขายเหรียญปลอดภัยบ่าแตกเป้า หมายที่ราวนมด้านซ้ายระยะเผาขน...เปรี้ยง....ดังขึ้นเป็นนัดที่หนึ่ง ตามด้วยนัดที่ 2 และนัดที่ 3 แต่ปรากฏเสียงดับ แชะ...แชะ...แชะ กระสุนขัดลำกล้องกับปืน อย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อยิงซ้ำไม่ได้ผลผู้ยิงจึงวิ่งหนีขึ้นรถขับหนีออกไป หลังจากหายตกตลึงเพื่อนฝูงที่อยู่ในวง ช่วยกันพยุงผู้ถูกยิงลุกขึ้น ตรวจอาการแปลก มหัศจรรย์ ตรงราวนมอันเป็นที่ตั้งทำงานของหัวใจ ปรากฏเสื้อขาดเป็นรูปเหรียญรูปไข่ของเหรียญปลอดภัย และเหรียญปลอดภัยยุบ บุ๋ม เป็นรอยถูกกระสุน ซึ่งเหรียญปลอดภัยแสดงปาฎิหารย์เคลื่อนขึ้นจากระหว่างอกขึ้นไปรับกระสุน และบันดาลให้กระสุนนัดที่ 2 และ 3 ขัดลำกล้อง เกี่ยวกับเรื่องเหรียญปลอดภัยเคลื่อนรับกระสุนและทำให้กระสุนปืนขัดลำกล้อง เซียนพระบางท่านก็ว่าเป็นเหรียญปลอดภัยรุ่น “ป.ขีด อัลปาก้า เหรียญปลอดภัยที่ด้านหลังเป็นยันร์องค์พระ ลงอักขระขอม “มุทุสติ มุทุจิตตัง มะอุมิ” อันเป็นหัวใจของเมตตามหานิยมแต่ประสบการณ์ของเหรียญมากด้วยความแคล้วคลาดพ้นอุบัติภัยทางถนน ความคงกระพัน มหาอุดเป็นเยี่ยมอย่างไม่น่าเชื่อ เพื่อนคุณประสานหาให้ซึ่งก็น่าหนักใจ เพราะราคาเป็นหมื่นและก็หายาก ต้องลงไปท้องถิ่นที่กำแพงก็น่าจะหาได้ อีกประการหนึ่งชื่อของท่านก็ดี เป็นมงคลนาม (สว่าง เจริญศรี) ฉายาของท่านเป็นสิ่งสอดคล้องกับคุณวิเศษของตัวท่าน (อุตตะโร) มีอิทธิฤทธิ์สมกับความปลอดภัยเป็นอันดับ 1
เหรียญปลอดภัย รุ่นที่ 5 พิมพ์เศียรโล้น

เมื่อหมดรุ่นบ่าแตก หลวงปู่ก็สร้างพิมพ์เศียรโล้นออกเป็นรุ่นต่อไป แต่ยังใช้รูปลักษณ์ของปี 2510 และรุ่นนี้แบ่งเป็น 2 เนื้อ คือเนื้ออัลปาก้า กับเนื้อทองเหลืองชุบนิเกิ้ลขาวสำหรับเนื้ออัลปาก้า จะมีลักษณะคมชัดสวยงามกว่าเนื้อชุบ ซึ่งมีทั้งชุบบาง จะมีลักษณะร่อน ที่เรียกว่า “ขี้กราก” และชุบหนา

สำหรับความนิยม เนื้ออัลปาก้าสภาพสวยพันบาทเศษ และประเภทชุบก็หลักพันเศษเช่นกัน
เหรียญปลอดภัย รุ่นที่ 6 พิมพ์ผมบางหรือผมหวี ภายหลังพิมพ์เศียรโล้นหมดสภาพเพราะแม่พิมพ์ตื้นและสนิมจับ พระอาจารย์เสา, วัดคลองเจริญ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่หว่าง ได้ติดต่อโรงพิมพ์จัดทำแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ ซึ่งยังคงภาพลักษณ์คลายคลึงกับรุ่นก่อน ๆ แต่มีส่วนต่างๆ ในทางด้านหน้าและด้านหลังของเหรียญ และมีทั้งชนิดบางและชนิดหนา สีผิวเหรียญออกขาวหมอง ๆ ไม่สดใสเป็นรุ่นทันหลวงปู่ปลุกเสก สภาพสวยของเหรียญบางแห่งราคาถึงพันบาท
เหรียญปลอดภัย รุ่นที่ 7 พิมพ์ทรงผมยาวหรือทรงกระทุ่ม
เป็นรุ่นที่หลวงปู่ทำออกแจกจ่าย พลโทสำราญ แพทยกุล แม้ทับภาพ 3 ที่นำเฮลิคอปเตอร์ไปให้ท่านเจิมที่วัดเมื่อปี 2515 นำไปมอบทหารในกองทัพ
เหรียญรุ่นนี้นับว่ามีประสบการณ์มาก ทั้งทหารโดดร่มไม่กาง แต่รอดชีวิตไปติดยอดไม้


                           พุทธคุณ   แคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพันชาตรี
                           สภาพ   ดูง่าย
                           ราคา   ติดต่อสอบถาม


Close Menu