พระพิษณุโลก | Prapsl.com

พระพิษณุโลก | Prapsl.com

ลำดับ 540 พระคง เนื้อดิน ลำพูน

 

ชื่อพระ    พระคง  เนื้อดิน  ลำพูน

               ( คุณกรพระเครื่อง) พระคงหรือพระลำพูนเป็นพระเนื้อดินเผาสกุลช่างลำพูน มีอายุการสร้างเกินกว่า 900 ปีเศษการขุดค้นพบวันเดือนปี ใดไม่ปรากฏหลักฐานการขุดค้นพบ เพียงแต่รู้ว่าพบที่วัดพระคงฤาษีเป็นวัดแรก บรรดานักนิยมพระทั้งหลายจึงเรียกขานขนานนาม พระสกุลลำพูนนี้เป็นพระคง (ลำพูน)แต่โบราณนานมามีการเรียกขานกันว่า พระลำพูนเท่านั้น ไม่มีคำว่าว่าพระคง มาภายหลังจึงเรียกว่า พระคง องค์พระหรือเอกลักษณ์ขององค์พระมีขนาดหนากว่าพระบางค่อนข้างมากกว่า แต่มีศิลปเนื้อหาสาระคล้ายคลึงกันทั้งแบบพิมพ์และสกุลช่าง ผิดกันตรงการวางแขนเท่านั้น ส่วนอื่นคล้ายคลึงกันแทบทั้งสิ้น พุทธลักษณะของพระคงลำพูน (ลำพูน)

เป็นพระนั่งปางมารวิชัยอันเป็นภาพตอนหนึ่งของพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ โพธิฤกษมูล ริมแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา เมืองราชคฤน์ แคว้นมลธ ในวันวิสาขะบูรณมี นั่งขัดสมาธิเพชรอยู่บนฐานรัตนบัลลังค์ กับประกอบด้วยบัวลูกแก้ว มีจำนวนที่นับได้ 18 จุด(บน 9 จุด ล่าง 9 จุด) มีประภามลฑลครอบพระเศียรและมีเส้นพระฉัพพรรณรังสีข้างพระองค์ทั้ง2 ข้างเป็นเส้นขนานระยะช่องไฟเท่ากับจรดที่ไหล่ และจดที่ฐานรัตนบัลลังค์ มีใบโพธิ์ทั้งสิ้น 20 ใบ มีทั้งชูก้านและลู่ลมพริ้วสลวย ออกแบบโดยช่างชาวเหนือสมัยโบราณมีขนาดความกว้างขององค์พระประมาณ 1.8 ซ.ม. ด้านหลังนูนมากกว่าพระค่อนข้างมาก

เนื้อพระ เป็นเนื้อดินเผาละเอียด บางองค์มีแร่ดอกมะขาม(ในองค์ที่ใช้สึกกร่อน) มีสีอยู่หลายสี อาทิเช่น สีพิกุลแห้ง สีหม้อใหม่ สีขาว สีบาง สีเขียว สีสวาท พระคงแต่ละองค์มีสีอ่อนแต่ไม่เหมือนกัน เพราะเป็นพระดินเผา (เผาไม่พร้อมกัน) บางทีอาจจะเป็นเพราะการฝังกรุที่มีความเรียบร้อยสมบูรณ์แบบกับการบรรจุหรือฝังในกรุที่ไม่สมบรูณ์แบบก็อาจจะเป็นได้ ในเรื่องของสีผิวและคราบกรุที่ผิดเพี้ยนกันได้

เรื่องพุทธคุณ ของพระคงลำพูน หรือพรลำพูน กล่าวกันเป็นเสียงเดียวกันว่าป้องกันอุบัติภัยได้ร้อยสี่พันอย่างหนำซ้ำยังเป็นพระที่มีเสน่ห์ทางเมตตามหานิยมสูงยิ่ง เมื่อประมาณ 1 ปีที่ผ่านพ้นมา พระคำพูนราคาแพงที่สุด สูงลิบลิ่ว ราคาหลักแสนทีเดียว ซึ่งนับเป็นพระเครื่องที่มีอายุค่อนข้างมากนั่นเอง ประชาชนและนักนิยมสะสมพระเครื่องทั้งหลายได้ตระหนักเป็นอย่างดีแล้วว่า พระลำพูนที่มีความเก่าแก่มีอายุการสร้างอันยาวนาน มีศิลปที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และหวงแหน นับเป็นสมบัติชิ้นหนึ่งที่ควรแก่การรักษา

             เนื้อพระ เป็นเนื้อดินเผาละเอียด บางองค์มีแร่ดอกมะขาม(ในองค์ที่ใช้สึกกร่อน) มีสีอยู่หลายสี อาทิเช่น สีพิกุลแห้ง สีหม้อใหม่ สีขาว สีบาง สีเขียว สีสวาท พระคงแต่ละองค์มีสีอ่อนแต่ไม่เหมือนกัน เพราะเป็นพระดินเผา (เผาไม่พร้อมกัน) บางทีอาจจะเป็นเพราะการฝังกุรที่มีความเรียบร้อยสมบูรณ์แบบกับการบรรจุฝังในกรุที่ไม่ บางทีอาจจะเป็นเพราะการฝังกรุที่มีความเรียบร้อยสมบูรณ์แบบกับการบรรจุหรือฝังในกรุที่ไม่สมบรูณ์แบบก็อาจจะเป็นได้ ในเรื่องของสีผิวและคราบกรุที่ผิดเพี้ยนกันได้

เรื่องพุทธคุณ ของพระคงลำพูน หรือพรลำพูน กล่าวกันเป็นเสียงเดียวกันว่าป้องกันอุบัติภัยได้ร้อยสี่พันอย่างหนำซ้ำยังเป็นพระที่มีเสน่ห์ทางเมตตามหานิยมสูงยิ่ง เมื่อประมาณ 1 ปีที่ผ่านพ้นมา พระคำพูนราคาแพงที่สุด สูงลิบลิ่ว ราคาหลักแสนทีเดียว ซึ่งนับเป็นพระเครื่องที่มีอายุ ค่อนข้างมากนั่นเอง ประชาชนและนักนิยมสะสมพระเครื่องทั้งหลายได้ตระหนักเป็นอย่างดีแล้วว่า พระลำพูนที่มีความเก่าแก่มีอายุการสร้างอันยาวนาน มีศิลปที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และหวงแหน นับเป็นสมบัติชิ้นหนึ่งที่ควรแก่การรักษา

            ใครเป็นผู้สร้างพระตระกูลลำพูน โปรดอ่านประวัติพระนางจามเทวีตามทบความต่อไปนี้เปรียบเทียบเอาเอง เมืองลำพูนเป็นเมืองหนึ่งอยู่มณฑลพายัพ ปี พ.ศ. 2443 สมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯโปรดเกล้าฯให้ตั้งเมืองขึ้นและให้ปกครองเป็นมณฑลเทศาบาล จังหวัดลำพูนตามพงศาวดารโยนกเดิมเรียกชื่อว่า เมืองหริภุญชัยเป็นถิ่นฐานของพวกเมงคบุตร( คือพวกชนเผ่ากสุลในสุวรรณภูมิภาคเหนือ อันเป็นสาขาหนึ่งของชนเผ่ามอญ เขมรจาอาณาจักรพนม) คำว่าเมงคบุตร หมายถึงพวกลูกน้ำระมิงค์หรือพิงค์ (แม่น้ำปิง)ต่อมาปี พ.ศ. 1200 ได้มีฤาษีสององค์ชื่อ สุเทวฤาษีและสุกกทกตฤาษีได้รวบรวมผู้คนสร้างหริภุญชัยนครขึ้น เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้ไม่มีผู้ใดจะเหมาะสมเป็นผู้ครองนครได้ จึงให้ควิยบุรุษเป็นทุตไปทุลเชิญพระนางจามเทวีพระราชธิดาของเจ้ากรุงละโว้(ละวะปรุะหรือลพบุรี) อันเป็นกุลสตรีที่ ประเสริฐเจริญด้วยศีล และมีความปรีชาสามารถยิ่ง

พระนางจามเทวีทรงสมัครพระทัยเดินทางมาหริภุญชัยโยทางเรือตามแม่น้ำปิง ใช้เวลาเดินทาง 7 เดือนจึงถึงหริภุณชัย พระนางทรงทำพระราชพิธีราชาภิเษกได้ 7 วัน ก็ทรงประสูติพระราชโอรสแฝด ทรงพระราชทานพระนามองค์เชษฐาว่า มหันตยศกุมาร และองค์อนุชาทรงพระนามว่า อนันตยศกุมาร ต่อมาด้วยบารมีของพระนางทรงได้เสวตไอยราศีกายเผือกดังเงินยวงงามีสีเขียว เรียกเป็นภาษาพิ้นเมืองว่า "ภู่ก่ำงาเขียว" จากเชิงเขาอ่างสลง(อ่างสลงเขาหลวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่)

ในสมัยของพระนางจามเทวี ได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองทั้งด้านการศาสนาและการปกครองด้านการศาสนาพระนางได้มีความเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งจึงได้สร้างพระอารามสำคัญขึ้นประจำจตุรทิศของพระนครเพื่อเป็นพุทธปราการ ปกป้องคุ้มครองพระนครให้พัฒนาสถาพรปราศจากภัยพิบัติมีวัดต่างๆ ดังนี้

1. วัดพัทธาราช (วัดพระคงฤาษี) เป็นพุทธปราการประจำฝ่ายทิศเหนือ

2. วัดอรัญญิกรกรันนราม (วัดดอนแก้ว) เป็นพุทธปราการประจำฝ่ายทิศตัวันออก

3. วัดมหาวราราม (วัดมหาวัน) เป็นพุทธปราการรักษาทางฝ่ายทิศตะวันตก

4. วัดมหาสัตตามราม (วัดประตูลี้) เป็นพุทธปราการอารักขาทางฝ่ายทิศใต้

พระอารามทั้ง 4 นี้ยังปรากฏอยู่ตามตำนาน ชาวบ้านยังคงเรียกว่าวัดสี่มุมเมือง ปริอรรถาธินายยกเรียกว่า จตุรพุทธปราการแต่ก็ยังมีพระอารามอีกแห่งหนึ่งที่พระนางจามเทวีทรงสร้างไว้ คือ มาลุวาราม(วัดสันป่ายาง) ในดงบาง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากศาลากลางไปตามถนนอินทรยงยศประมาณ 2 กม. เป็นพระอารามที่ใช้เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระนางจามเทวี และพระเจ้ามหันตยศ กับทั้งเป็นที่ตั้งพระเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิของพระเจ้าอันตยศในการต่อไป

นอกจากนั้นพระชนม์ชีพของพระองค์ หลังจากได้ทรงเวนคืนราชสมบัติให้แก่พระเจ้ามหันตยศพระราชโอรสแล้วเมื่อวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง พุทธศักราช 1236 พระนางมีพระชนมายุได้ 60 พรรษา ได้ทรงสละเพศเป็นชีผ้ายาว โดยแม่ชีจามเทวีทรงปฏิบัติศาสนา ณ สำนักอารามจามเทวี จนกระทั่งในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเมีย พุทธศักราช 1274 แม่ชีจามเทวีก็ได้ถึงแก่มรณะโดยปราศจากโรคใดๆ และได้จัดพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพ เมื่อวันแรม 3 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก พุทธศักราช 1436 ศิริพระชนมายุได้ 98 พรรษา หลังตากถวายพระเพลิงอดีตกษัตริย์แห่งนครหริภุญชัยแล้ว ก็ได้นำพระอัฐิบรรจุไว้ ณ อารามจามเทวี โดยนครหริภุญชัย เขลางนคร และระมิงค์ได้ร่วมกันไว้ทุกต่ออีก 1 ปี

เมื่อทุกท่านได้อ่านเรื่องเหล่านี้จบแล้ว คงไม่สงสัยว่าใครเป็นผู้สร้าง พระรอด พรคง พระยัง (พระลพ) หรือพระเปิน เป็นแน่แท้ เพราะว่า พระต่างๆ ดังกล่าว บรรจุอยู่ในพระเจดีย์ที่พระนางจามเทวีเป็นผู้สร้างมาแล้วทั้งสิ้น เรื่องความแสลงใจสงสัยต่างๆ คงจะหายไปจริงไหมครับ

             สำหรับพระคง (ลำพูน) พระบาง (พระพัง) พระเปิน พระรุก พระรพ พระต่างๆ เหล่านี้มีด้วยกันหลายกรุ แม้แต่ที่ใต้ฐานพระประธานของพระองค์ใหญ่ในวัดพระธาตุหริภุญชัย เมื่อประมาณปี 14-15 ก็มี การแตกกรุออกมาจำนวนมาก เป็นพระที่เซียนทั้งหลายเรียกขานกันว่าพระคงกรุใหม่ก็มี นอกจากพระรอดวัดมหาวันแล้ว พระอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้นก็มีอยู่ด้วยกันหลายวัด ศิลปสมัยโดยมากเป็นศิลปทวาราวดีผสมลพบุรี บางคนกล่าวกันว่าเป็นศิลปหริภุญชัยอย่างสมบูรณ์แบบก็ต้องพิจารณากันไป

อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ตั้งอยู่ตำบลในเมือง ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร มีข้อความจารึกไว้ดังนี้

พระนางจามเทวีเป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญชัย (ลำพูน) พระนางทรงเป็นปราชญ์ผู้มีความกล้าหาญ ทรงคุณธรรม และยังมีพระศิริโฉมงดงาม พระนางได้นำพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมมาเผยแพร่ในดินแดนลานนาไทยเป็นเบื้องแรก ซึ่งทำให้ลานนาไทยเจริญรุ่งเรื่องทั้งด้านการศาสนาและศิลปวัฒนธรรมมาจนถึงปัจจุบัน อนุสาวรีย์แห่งนี้สร้างและเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2525 โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารฯ เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธี

จุดสำคัญ

1. ใบโพธิ์ทั้งหมด 20 ใบตั้งและลู่ลมพริ้วและดูสลวย มีจำนวนเท่ากันในโพะของพระนาง

2. มีประภามณฑลรอบศีรษะ(รัศมี) เหมือนพระบางพระเปิน

3. บางองค์มีพระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์ พระกรรณ พระศก ชัดเจนมาก

4. ข้อศอกผิดกันกับพระบางคือ ศอกตั้งฉากกับลำพระองค์(ลำตัว) ส่วนพระบางศอก

ตั้งเฉียงลำพระองค์

5. บัวลูกแก้วทั้งล่างและบนมีจำนวนข้างละ 9 กลีบหรือเก้าจุด รวมเป็น 18 จุด เท่ากับพระบาง

6. ถ้าเป็นพระเนื้อสีเขียวมอยจะมีคราบเหลืองเสมอเว้นบางองค์เท่านั้น ด้านหลังองค์พระคง

จะมีความนูนหนากว่าพระบางค่อนข้างมากสรุปควรจะสังเกตที่ข้อศอกเท่านั้น

พุทธคุณ    เมตตามหานิยม  แคล้วคลาดปลอดภัย

สภาพ        ผิวเปิด  ดูง่าย

ราคา          ติดต่อสอบถาม



 

Close Menu