

พระหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา สามชาย วัดบางคลาน พิจิตร
หลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา
พันธุ์แท้พระเครื่อง(โดยราม วัชรประดิษฐ์)
"ตาขององค์พระจะมีลักษณะคล้ายเปลือกตา และจะปรากฏเม็ดติ่งเกิน ซึ่งดูคล้ายกับ "เม็ดขี้ตา" ไม่ติดชิดกับเปลือกตา ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "พิมพ์ ขี้ตา" นั่นเอง"
พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา นั้น มีด้วยกัน 3 พิมพ์ อันได้แก่ พิมพ์ขี้ตาสามชาย พิมพ์ขี้ตาสี่ชาย และพิมพ์ขี้ตา ห้าชาย
กรรมวิธีการจัดสร้าง "พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา" เป็นกรรมวิธีแบบโบราณที่เรียกว่า "หล่อดินไทย" วัสดุที่ใช้เป็นโลหะแก่ทองเหลือง โดยใช้แม่พิมพ์ประกบและอัดเทียนเข้าทางก้น เมื่อถอดแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังออกแล้ว จะปรากฏเป็นหุ่นเทียนลอยองค์ จากนั้นจึงนำขี้วัวละเอียดมาทาทับลงบนหุ่น เทียน รอจนแห้งแล้วทาทับใหม่ประมาณ 4-5 ครั้ง
จากนั้นนำดินอ่อน (ละเอียด) ผสมทรายหุ้มที่องค์พระโดยเปิดก้นไว้ รอจนแห้งสนิทจึงนำดินแก่ที่ทนไฟมาหุ้มทับอีกชั้นหนึ่งโดยเปิดก้นไว้เช่นเดิม รอจนดินที่พอกแห้งสนิท จากนั้นนำไปเผาไฟเพื่อสำรอกหุ่นเทียนออก รอจนดินที่นำไปเผาแห้งสนิท รอจนโลหะเย็นและแข็งตัว จึงนำมาทุบดินออกก็จะได้ "รูปหล่อลอยองค์พิมพ์ขี้ตา" ที่มีเนื้อแก่ทองเหลือง จากนั้นช่างจะนำไปแต่งตะไบเก็บงานบริเวณก้นขององค์พระ เนื้อในของผิวองค์พระจะมีกระแสเหลืองอมเขียว คล้ายพระกริ่งหน้าอินเดียของวัดสุทัศน์
พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา ทุกองค์ จะมีกรรมวิธีการสร้างเหมือนกันทุกประการ ทุกองค์ที่ก้นจะไม่มีช่อชนวนเพราะเป็นการเทพระทีละองค์ (เบ้าหก) ก้นพระจึงมีลักษณะเหมือน เทียนหยดและลักษณะจะแตกต่างกันไป ด้านข้างขององค์พระจะปรากฏรอยตะเข็บเป็นเส้นนูนอย่างเป็นธรรมชาติ
พระบางองค์อาจประกบเหลื่อม พระที่ทำเทียมจะมีรอยประกบที่แข็งไม่เป็นธรรมชาติ ฐานรองรับองค์พระมีลักษณะโค้งมนโดยรอบ เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งซึ่งช่างได้แต่งในหุ่นเทียน คือ บริเวณปากขององค์พระจะโค้งเว้าขึ้น ทำให้ดูเหมือนหลวงพ่อกำลังยิ้มที่มุมปาก และพระบางองค์ที่ผ่านการใช้ปลายจมูกขององค์พระจะมีลักษณะเป็นเส้นใยคล้ายลายมุ้ง
เนื่องจากพระหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา เป็นพระที่สร้างมายาวนานเกือบ 100 ปี จึงปรากฏคราบออกไซด์ เป็นสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ทั่วองค์พระ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาระหว่างทองเหลืองกับออกซิเจน และตาขององค์พระจะมีลักษณะคล้ายเปลือกตา และปรากฏเม็ดติ่งเกินซึ่งดูคล้ายเม็ดขี้ตาไม่ติดชิดกับเปลือกตา อันเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ว่า "พิมพ์ขี้ตา"
จุดตำหนิแม่พิมพ์อื่นๆ มีดังนี้ เส้นริ้วรอยจีวรจะบางกว่าพิมพ์นิยม และเส้นจีวรด้านซ้ายมือขององค์พระจะมี 3 เส้น นอกจากนี้ รอยประสานระหว่างมือจะติดมากกว่าพิมพ์นิยม
ส่วนแม่พิมพ์ด้านหลัง หูด้านขวาขององค์พระจะไม่ติดชิดไหล่ และบริเวณไหล่จะปรากฏตะเข็บข้างให้เห็นชัดเจน ผ้าจีวรมีลักษณะบานกว้างออก และเป็นแบบ ห่มม้วนเข้าใต้องค์พระครับผม
(ขอบคุณที่มา ข่าวสดออนไลน์)
สำหรับองค์นี้เป็นพิมพ์ขี้ตาสามชาย น้ำหนักประมาณหกสลึง ล่ำสันพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา นั้น มีด้วยกัน 3 พิมพ์ อันได้แก่ พิมพ์ขี้ตาสามชาย พิมพ์ขี้ตาสี่ชาย และพิมพ์ขี้ตา ห้าชาย
กรรมวิธีการจัดสร้าง "พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา" เป็นกรรมวิธีแบบโบราณที่เรียกว่า "หล่อดินไทย" วัสดุที่ใช้เป็นโลหะแก่ทองเหลือง โดยใช้แม่พิมพ์ประกบและอัดเทียนเข้าทางก้น เมื่อถอดแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังออกแล้ว จะปรากฏเป็นหุ่นเทียนลอยองค์ จากนั้นจึงนำขี้วัวละเอียดมาทาทับลงบนหุ่น เทียน รอจนแห้งแล้วทาทับใหม่ประมาณ 4-5 ครั้ง
จากนั้นนำดินอ่อน (ละเอียด) ผสมทรายหุ้มที่องค์พระโดยเปิดก้นไว้ รอจนแห้งสนิทจึงนำดินแก่ที่ทนไฟมาหุ้มทับอีกชั้นหนึ่งโดยเปิดก้นไว้เช่นเดิม รอจนดินที่พอกแห้งสนิท จากนั้นนำไปเผาไฟเพื่อสำรอกหุ่นเทียนออก รอจนดินที่นำไปเผาแห้งสนิท รอจนโลหะเย็นและแข็งตัว จึงนำมาทุบดินออกก็จะได้ "รูปหล่อลอยองค์พิมพ์ขี้ตา" ที่มีเนื้อแก่ทองเหลือง จากนั้นช่างจะนำไปแต่งตะไบเก็บงานบริเวณก้นขององค์พระ เนื้อในของผิวองค์พระจะมีกระแสเหลืองอมเขียว คล้ายพระกริ่งหน้าอินเดียของวัดสุทัศน์
พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา ทุกองค์ จะมีกรรมวิธีการสร้างเหมือนกันทุกประการ ทุกองค์ที่ก้นจะไม่มีช่อชนวนเพราะเป็นการเทพระทีละองค์ (เบ้าหก) ก้นพระจึงมีลักษณะเหมือน เทียนหยดและลักษณะจะแตกต่างกันไป ด้านข้างขององค์พระจะปรากฏรอยตะเข็บเป็นเส้นนูนอย่างเป็นธรรมชาติ
พระบางองค์อาจประกบเหลื่อม พระที่ทำเทียมจะมีรอยประกบที่แข็งไม่เป็นธรรมชาติ ฐานรองรับองค์พระมีลักษณะโค้งมนโดยรอบ เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งซึ่งช่างได้แต่งในหุ่นเทียน คือ บริเวณปากขององค์พระจะโค้งเว้าขึ้น ทำให้ดูเหมือนหลวงพ่อกำลังยิ้มที่มุมปาก และพระบางองค์ที่ผ่านการใช้ปลายจมูกขององค์พระจะมีลักษณะเป็นเส้นใยคล้ายลายมุ้ง
เนื่องจากพระหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา เป็นพระที่สร้างมายาวนานเกือบ 100 ปี จึงปรากฏคราบออกไซด์ เป็นสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ทั่วองค์พระ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาระหว่างทองเหลืองกับออกซิเจน และตาขององค์พระจะมีลักษณะคล้ายเปลือกตา และปรากฏเม็ดติ่งเกินซึ่งดูคล้ายเม็ดขี้ตาไม่ติดชิดกับเปลือกตา อันเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ว่า "พิมพ์ขี้ตา"
จุดตำหนิแม่พิมพ์อื่นๆ มีดังนี้ เส้นริ้วรอยจีวรจะบางกว่าพิมพ์นิยม และเส้นจีวรด้านซ้ายมือขององค์พระจะมี 3 เส้น นอกจากนี้ รอยประสานระหว่างมือจะติดมากกว่าพิมพ์นิยม
ส่วนแม่พิมพ์ด้านหลัง หูด้านขวาขององค์พระจะไม่ติดชิดไหล่ และบริเวณไหล่จะปรากฏตะเข็บข้างให้เห็นชัดเจน ผ้าจีวรมีลักษณะบานกว้างออก และเป็นแบบ ห่มม้วนเข้าใต้องค์พระครับผม
(ขอบคุณที่มา ข่าวสดออนไลน์)
พุทธคุณ ครบเครื่องครับทั้งโชคลาภ ค้าขาย แคล้วคลาดปลอดภัย
ราคา ติดต่อสอบสาม