

พระเปิมลำพูน" ซึ่งเป็นพระที่สร้างขึ้นพร้อมกับ ยอดพระเมืองลำพูน คือ “พระรอดและพระคง” เพียงแต่แยกบรรจุไว้ คนละกรุ โดยพระเปิมลำพูน องค์ที่ท่านชมอยู่นี้ต้องบอกว่าเป็นองค์ “แชมป์เรียกพี่” เพราะนอกจากเป็น พระเนื้อสองสี คือ เขียวกับแดง แล้วสภาพก็มีครบทั้ง หู ตา จมูก ปาก เข้าตำราที่เรียกว่า “หูตากะพริบ” ทุกกรณีสมบัติของ ประเมธ เพราะพินิจ ("ตะวันบูรพา"Daily News Online)
พระเปิมลำพูน ยอดพระเมืองลำพูนพระเปิม เป็นพระเครื่องยอดนิยม พระเครื่องล้านนาที่สร้างขึ้นด้วยเรื้อดินเผา มีศิลปสกุลช่างทวาราวดีผสมผสานสกุลช่างหริภุญชัย หรือช่างชาวมอญโบราณ ลัทธิมหายาน "พระเปิมลำพูน"มีพุทธลักษณะเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประทับนั่งใต้ต้นร่มโพธิ์พฤกษ์ หรือร่มจิก เป็นจินตนาการของช่างสมัยโบราณ ได้บรรจงสร้างศิลป์ตามยุคและตามสมัยนั้นได้อย่างงดงาม เอกลักษณ์ของพระศิลปสมัยทวาราวดี ตามพุทธลักษณะของสกุลช่าง จนเราสามารถแยกออกจากกันได้ (อ่านศิลปอวกะ) "พระเปิมลำพูน"พระเครื่องเมืองลำพูนยอดนิยมพิมพ์หนึ่ง สถานที่พบส่วนใหญ่พบที่ วัดพระธาตุ วัดประตูลี้ วัดดอกแก้ว วัดพระคง วัดมหาวัน มีผู้รู้กล่าวว่า พระเปิมมีลักษณะที่น่าสังเกตที่ควรจำ คือ ลำตัวองค์พระจะอวบอ้วน พระโอษฐ์(ปาก) แบะริมฝีปากหนา พระเนตร(ตา)โปน พระนาสิกบาน ศีรษะทุย พระเกศมาลาจิ่ม พระกรรณ(ใบหู)หนา พระศอ(คอ)จะเห็นกรองศอหรือกรองคอเป็นเส้นนูนขึ้นอย่างชัดเจน เต้าพระถัน(เต้านม) จะเห็นชัดเจน พระนาภี(สะดือ)บุ๋มลึกลงไม่ใช่สะดือจุ่นหรือนูนขึ้น ส่วนต่างๆ ของร่างกาย(พระอังคาพยพ) จะไม่สมส่วนสัด เช่น พระหัตถ์จะใหญ่โต พระบาทก็เช่นเดียวกัน เป็นลักษณะหนึ่งของสมัยทวาราวดี ซึ่งมีสัดส่วนแตกต่างกับพระสมัยอื่นหรือสกุลช่างอื่น ที่เราสามารถรู้ได้ว่าเป็นศิลปสมัยทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรีเชียงแสน สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ เป็นต้น
พระเปิมลำพูน พระพิมพ์ที่แสดงลักษณะศิลปะอินเดีย แบบคุปตะและปาละ น่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 พระเปิมลำพูนเป็นพระดินเผาที่มีเนื้อละเอียดหนึกนุ่ม แห้งแกร่ง แข็ง ถ้าสึกกร่อนจะมีแร่ดอกมะขามเป็นจุดๆ ถ้าสมบูรณ์เช่นที่เห็นนี้ จะมองไม่เห็นแร่ บางองค์มีคราบกระคล้ายกับผิวหนังของช้างตกกระ พระเปิมมีสีหลายสี เช่น สีเขียวมอย สีแดง สีพิกุลแห้ง สีอิฐ สีหม้อใหม่ประทับนั่งใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ อยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ (เบื้องหลัง)ในท่าปางสะดุ้งมาร มีฐานลอยยื่นรองรับเป็นรัตนบัลลังก์ เป็นจุดไข่ปลาเหมือนเกษรบัว นั่งขัดสมาธิเพชร มีใบโพธิ์หรือใบจิก 84 ใบ ฐานผ้าทิพย์จะมีลักษณะของสตางค์ จะมีเส้นรัศมีอยู่ 7 เส้น (จุดที่สำคัญที่สุดในองค์พระ) ถ้ามีเกินกว่าหรือน้อยกว่าจะเป็น พระเปิมลำพูน ของเก๊ค่อนข้างแน่นอน
พระเปิม ลำพูน |
ประวัติ พระเปิม ลำพูน
พระเปิม ลำพูนเป็นพระเนื้อดินที่สร้างมาในยุคสมัยเดียวกับพระรอด พระคง พระบาง พระเลี่ยง ฯลฯ มูลเหตุการสร้างก็ต้องเล่าเรื่องเมืองหริภุญชัย และพระนางจามเทวีแบบคร่าวๆ ครับ คืออย่างนี้ครับ จากพงศาวดารโยนก จามเทวีวงศ์ ชินกาลมลินี และตำนานมูลศาสนา พอจะสรุปได้ดังนี้ ว่ามีพระฤๅษี 5 ฅน คือพระสุเทวฤๅษี พระสุกกทันตฤๅษี พระสุพรหมฤๅษี พระนารทะฤๅษี ซึ่งเป็นคณาจารย์ของหริภุญชัย และเป็นผู้สร้างพระศักรพุทธปฏิมาสกุลลำพูน นอกจากนี้ ยังมีพระอนุสิษฏฤๅษี ซึ่งพำนักอยู่ ณ เขาลตางค์ (เขาหลวงเมืองสวรรคโลก)
พระเปิม เป็นพระที่ขุดพบที่ วัดดอนแก้ว วัดนี้ตั้งอยู่ในตำบลเวียงยอง นอกกำแพงเมืองไปทางทิศตะวันออกของแม่น้ำกวง ต้องข้ามลำน้ำที่สะพานท่าสีห์พิทักษ์ ที่ตั้งของพระอารามนี้อยู่ห่างจากประตูเมืองด้านตะวันออก (ประตูท่าขุนนาง) ประมาณ 600 เมตร ปัจจุบันเป็นวัดร้าง และเป็นที่ตั้งของ ร.ร.เทศบาลบ้านเวียงยอง มีซากวัตถุโบราณปรากฏอยู่ เช่น พระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิขัดเพชร ซึ่งชำรุดหักพังอยู่ อีกทั้งที่วัดแห่งนี้ยังพบศิลาจารึกภาษามอญอีก 2 หลัก
การขุดหา พระเครื่องวัดดอนแก้วนี้มีการขุดค้นกันมานานแล้วในครั้งแรกๆ ไม่อาจสืบหาหลักฐานได้ ต่อมาในปี พ.ศ.2484-85 ซึ่งเป็นเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในระหว่างสงครามอินโดจีน ประชาชนกำลังตื่นตัวขุดหาพระเครื่องกันทั่วทุกแห่งหน ก็ได้มีการขุดหาพระที่วัดดอนแก้วด้วยการขุดครั้งนี้ได้กระทำตรงบริเวณซากพระ เจดีย์เก่า ได้พระเป็นจำนวนมาก เช่น พระเปิม พระบาง พระฤๅ พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง พระสิบแปด และพระกล้วย ตลอดจนพระแผงต่างๆ หลายพันองค์ ถึงกับต้องใช้ตะกร้าหาบ การขุดดำเนินติดต่อกันไปหลายเดือน ต่อมาคณะกรรมการจังหวัดต้องประกาศห้ามจึงได้เลิกขุดกันไป ในสมัยนั้นการพบ พระเปิม ซึ่งชาวบ้านได้ขุดพบ ก็ได้ตั้งชื่อเรียกเอาตามลักษณะที่พบคือคำว่า "เปิม" เป็นคำเมืองเดิม มีความหมายว่า แป้น ป้าน หรืออวบใหญ่ การตั้งชื่อในสมัยนั้นชาวบ้านจะเรียกตามลักษณะที่พบ เช่น พระรอด หมายถึง เล็ก พระเลี่ยง ก็คือ เลี่ยม หมายถึง แหลม ต่อมาจึงเพี้ยนเป็นเลี่ยง พระคง หมายถึงหนามั่นคงแข็งแรง พระบาง มีลักษณะคล้ายพระคง แต่องค์พระบอบบางกว่า จึงเรียกว่าพระบาง เป็นต้น
พระเปิม ลำพูนเป็นพระกรุเก่าแก่ มีพุทธคุณดีครบทุกด้านครับ เด่นทางคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดครับ ในสังคมวงการพระเครื่องนั้นนิยม พระเปิม ลำพูนเช่นกัน และปัจจุบันเป็นพระที่หาพระแท้ๆ ยากพอสมควรครับ และผมได้นำ รูปพระเปิมมาให้ท่านได้ชมกันหนึ่งรูปครับ บทความพระเครื่อง
ด้วยความจริงใจ แทน ท่าพระจันทร์ ที่มาหนังสือพิมพ์
พระเปิม ลำพูนเป็นพระเนื้อดินที่สร้างมาในยุคสมัยเดียวกับพระรอด พระคง พระบาง พระเลี่ยง ฯลฯ มูลเหตุการสร้างก็ต้องเล่าเรื่องเมืองหริภุญชัย และพระนางจามเทวีแบบคร่าวๆ ครับ คืออย่างนี้ครับ จากพงศาวดารโยนก จามเทวีวงศ์ ชินกาลมลินี และตำนานมูลศาสนา พอจะสรุปได้ดังนี้ ว่ามีพระฤๅษี 5 ฅน คือพระสุเทวฤๅษี พระสุกกทันตฤๅษี พระสุพรหมฤๅษี พระนารทะฤๅษี ซึ่งเป็นคณาจารย์ของหริภุญชัย และเป็นผู้สร้างพระศักรพุทธปฏิมาสกุลลำพูน นอกจากนี้ ยังมีพระอนุสิษฏฤๅษี ซึ่งพำนักอยู่ ณ เขาลตางค์ (เขาหลวงเมืองสวรรคโลก)
พระเปิม เป็นพระที่ขุดพบที่ วัดดอนแก้ว วัดนี้ตั้งอยู่ในตำบลเวียงยอง นอกกำแพงเมืองไปทางทิศตะวันออกของแม่น้ำกวง ต้องข้ามลำน้ำที่สะพานท่าสีห์พิทักษ์ ที่ตั้งของพระอารามนี้อยู่ห่างจากประตูเมืองด้านตะวันออก (ประตูท่าขุนนาง) ประมาณ 600 เมตร ปัจจุบันเป็นวัดร้าง และเป็นที่ตั้งของ ร.ร.เทศบาลบ้านเวียงยอง มีซากวัตถุโบราณปรากฏอยู่ เช่น พระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิขัดเพชร ซึ่งชำรุดหักพังอยู่ อีกทั้งที่วัดแห่งนี้ยังพบศิลาจารึกภาษามอญอีก 2 หลัก
การขุดหา พระเครื่องวัดดอนแก้วนี้มีการขุดค้นกันมานานแล้วในครั้งแรกๆ ไม่อาจสืบหาหลักฐานได้ ต่อมาในปี พ.ศ.2484-85 ซึ่งเป็นเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในระหว่างสงครามอินโดจีน ประชาชนกำลังตื่นตัวขุดหาพระเครื่องกันทั่วทุกแห่งหน ก็ได้มีการขุดหาพระที่วัดดอนแก้วด้วยการขุดครั้งนี้ได้กระทำตรงบริเวณซากพระ เจดีย์เก่า ได้พระเป็นจำนวนมาก เช่น พระเปิม พระบาง พระฤๅ พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง พระสิบแปด และพระกล้วย ตลอดจนพระแผงต่างๆ หลายพันองค์ ถึงกับต้องใช้ตะกร้าหาบ การขุดดำเนินติดต่อกันไปหลายเดือน ต่อมาคณะกรรมการจังหวัดต้องประกาศห้ามจึงได้เลิกขุดกันไป ในสมัยนั้นการพบ พระเปิม ซึ่งชาวบ้านได้ขุดพบ ก็ได้ตั้งชื่อเรียกเอาตามลักษณะที่พบคือคำว่า "เปิม" เป็นคำเมืองเดิม มีความหมายว่า แป้น ป้าน หรืออวบใหญ่ การตั้งชื่อในสมัยนั้นชาวบ้านจะเรียกตามลักษณะที่พบ เช่น พระรอด หมายถึง เล็ก พระเลี่ยง ก็คือ เลี่ยม หมายถึง แหลม ต่อมาจึงเพี้ยนเป็นเลี่ยง พระคง หมายถึงหนามั่นคงแข็งแรง พระบาง มีลักษณะคล้ายพระคง แต่องค์พระบอบบางกว่า จึงเรียกว่าพระบาง เป็นต้น
พระเปิม ลำพูนเป็นพระกรุเก่าแก่ มีพุทธคุณดีครบทุกด้านครับ เด่นทางคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดครับ ในสังคมวงการพระเครื่องนั้นนิยม พระเปิม ลำพูนเช่นกัน และปัจจุบันเป็นพระที่หาพระแท้ๆ ยากพอสมควรครับ และผมได้นำ รูปพระเปิมมาให้ท่านได้ชมกันหนึ่งรูปครับ บทความพระเครื่อง
ด้วยความจริงใจ แทน ท่าพระจันทร์ ที่มาหนังสือพิมพ์
พระเปิมวัดดอนแก้ว บ้านเวียงยองอำเภอเมืองลำพูน
พระเปิมของวัดดอนแก้วเป็นพระกรุที่ได้รับความนิยม ที่มีชื่อเสียงชนิดหนึ่งของเมืองลำพูน ขุดพบครั้งแรกที่วัดดอนแก้ว ตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน ซึ่งปัจจุบันบริเวณของวัดโบราณแห่งนี้ ได้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนเทศบาลตำบลเวียงยองไปแล้ว การขุดหาพระเครื่องอย่างจริงจังเกิดขึ้นประมาณปี พ. ศ. 2485 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่บ้านเมืองในขณะนั้นอยู่ในระหว่างสงครามอินโดจีน ตอนนั้นชาวบ้านชาวเมืองในจังหวัดลำพูน ต่างมีการตื่นตัวเสาะแสวงหาพระเครื่องต่างๆ ไว้เพื่อป้องกันตัวเป็นการใหญ่ โดยเฉพาะได้มีการ ทำการขุดตรงบริเวณทรากเจดีย์เก่าแก่ ของวัดดอนแก้วแห่งนี้ การขุดพบพระกรุนานาชนิดขึ้นมาเป็นจำนวนมากเช่น พระเปิม พระบาง พระคง พระลือหน้ามงคล พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง พระสิบแปด พระป๋วย พระปลีกล้วย และพระชนิดอื่น ๆตลอดจนพระแผงต่าง ๆหลายพันองค์ มากมายจนต้องนำไปใส่ไว้ในตะกร้าขนาดใหญ่หลายสิบใบ ครั้งนั้น เจ้าจักรคำขจรศักดิ์เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย ได้มาเฝ้าดูการขุดด้วยตนเอง และได้นำพระเครื่องต่าง ๆที่ขุดได้ นำไปแจกจ่ายให้แก่บรรดาทหารหาญที่ประจำอยู่ ในเมืองลำพูนและมณฑลพายัพไว้เพื่อป้องกันตัว การขุดพบพระเครื่องต่าง ๆในบริเวณวัดดอนแก้วในครั้งนั้นเป็นครั้งสำคัญที่พระกรุ เช่นพระเปิม พระบาง พระสาม พระป๋วย ซึ่งมีมากในวัดนี้ ปรากฎออกมาให้ได้รู้เห็นเป็นประจักษ์แก่บรรดาผู้ที่นิยมสะสมพระกรุชุดสกุลลำพูนอันถือได้ว่าเป็นตำนานของการขุดพระเครื่องในเมืองลำพูนอย่างเป็นทางการครั้งหนึ่งมาจนถึงทุกวันนี้
หากเราจะย้อนรอยดูในตำนานหรือในพงศาวดารต่าง ๆที่เกี่ยวกับประวัติของเมืองลำพูนนั้นจะเห็นว่า วัดดอนแก้วนั้นเป็นวัดโบราณเก่าแก่ที่พระนางจามเทวี ปฐมกษัตรีย์ของเมืองลำพูน ได้ทำการสถาปนาขึ้นมา ในปี พ.ศ1223 โดยวัดดอนแก้วนี้เป็นวัดหนึ่งในสี่ของ จตุรพุทธปราการพร้อมกับได้สร้างพุทธปฏิมาต่างบรรจุไว้ในแต่ละวัด อันได้แก่ วัดมหาวันทางทิศตะวันตกของเมืองมีพระรอด พระรอดหลวงเป็นพระหลัก วัดพระคงฤาษีทางทิศเหนือ โดยมีพระคง พระบางเป็นพระหลัก วัดประตูลี้ทางทิศใต้ โดยมีพระลือหน้ามงคล พระเลี่ยงเป็นพระหลัก ทางทิศตะวันออกคือวัดดอนแก้วนั้นมีพระ เปิม พระบาง พระสาม พระป๋วยเป็นพระหลัก ซึ่งพระต่าง ๆดังกล่าวก็ได้ปรากฎให้ได้พบเห็นในปัจจุบัน พระเปิมของวัดดอนแก้ว ถือได้ว่าเป็นพระต้นแบบของพระเปิมในที่แห่งอื่นเช่นพระเปิมของกรุวัดจามเทวี ซึ่งกู่ที่บรรจุพระเปิมวัดจามเทวีนั้นได้สร้างขึ้นภายหลังวัดดอนแก้วประมาณ 30 ปีคือสร้างขึ้นในปี พ. ศ. 1258
พระเปิมที่พบวัดจามเทวีนั้นมีรูปแบบเป็นอย่างเดียวกับพระเปิมวัดดอนแก้ว เพียงแต่ว่าเนื้อดินของพระเปิมของกรุจามเทวีจะมีเนื้อดินที่หยาบและด้านหลังจะบางกว่าอย่างเห็นได้ชัด ต่อมาในปี พ. ศ. 1600 พระเจ้าอาทิตยราชกษัตริย์ลำดับที่ 31ซึ่งครองราชย์นับต่อเนื่องจากพระนางจามเทวีเป็นระยะเวลานานถึง 387ปี ได้สร้างพระบรมธาตุเจ้าหริภุญชัย ขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระนางปทุมวดีพระมเหสีโปรดให้จำลองแบบเจดีย์สุวรรณจังโกฎิ์ มาสร้างเป็นเจดีย์รูปแบบเดียวกันแต่มีขนาดเล็กกว่าไว้ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือขององค์พระบรมธาตุเรียกกันในชั้นหลังว่าปทุมวดีเจดีย์บรรจุพระเปิมที่มีลักษณะเฉพาะตัวของศิลปะในยุคนั้นไว้ในพระเจดีย์แห่งนี้ จึงเป็นที่มาของพระเปิมกรุวัดพระธาตุในตอนหลัง พอจะสรุปได้ว่าพระเปิมของกรุวัดดอนแก้วนั้นเป็นพระกรุที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด รองลงมาก็เป็นพระเปิมของวัดจามเทวีและหลังสุดก็เป็นพระเปิมของวัดพระธาตุในกรุปทุมวดี ถึงแม้จะมีความแตกต่างของอายุการสร้าง พระเปิมของทั้งสามแห่งนี้ก็มีพุทธคุณสูงยิ่งในทางข่ามคงกระพันชาตรี เป็นที่เชื่อมั่นและประจักษ์แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของที่มีไว้ติดตัวเพื่อคุ้มกันภัยร้ายต่าง ๆ โดยเฉพาะพุทธศิลป์ที่มีความงดงามและโดดเด่นเป็นผลดีทางจิตใจ ทำให้ผู้ที่เป็นเจ้าของเกิดความสบายใจในยามเฝ้ามอง อันเป็นคุณลักษณะหนึ่งของพระกรุของเมืองโบราณแห่งนี้ ที่มีไว้ให้ชื่นชมกันด้วยความภาคภูมิใจ (จาก หอศิลปะพระเครื่องเมืองลำพูน โดยนายโบราณ www.naiboran.com )
สำหรับองค์นี้เป็นพระกรุดอนแก้วที่ยังสวยสมบูรณ์ดูง่ายครับ
พุทธคุณ แคล้วคลาดปลอดภัย เมตตามหานิยม
สภาพ สวยดูง่าย
ราคา ติดต่อสอบถาม