พระพิษณุโลก | Prapsl.com

พระพิษณุโลก | Prapsl.com

ลำดับ 454 เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน อุตรดิตถ์

  

                             เหรียญหลวงพ่อเพชร ปี 2483 วัดท่าถนน  เมือง อุตรดิตถ์

วัดท่าถนน (อุตรดิตถ์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดท่าถนน (อุตรดิตถ์)
หลวงพ่อเพชรวัดท่าถนน อุตรดิตถ์.jpg
หลวงพ่อเพ็ชรวัดท่าถนน จังหวัดอุตรดิตถ์
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อวัดท่าถนน
ที่ตั้งถนนสำราญรื่น ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท (มหานิกาย)
พระประธานหลวงพ่อเพ็ชร
เจ้าอาวาสพระอธิการประทุม เขมภทฺโท
วัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุตรดิตถ์
จุดสนใจสักการะหลวงพ่อเพ็ชร, ชมภาพจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถ
    
วัดท่าถนน เดิมชื่อ วัดวังเตาหม้อ อยู่ตรงข้ามสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ประดิษฐานหลวงพ่อเพ็ชร พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 1 หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ ในบริเวณวัดมีอาคารศิลปะแบบตะวันตก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2474 เป็นโรงเรียนปริยัติธรรมและภาษาบาลีของพระภิกษุสามเณรในเมือง มีลักษณะสถาปัตยกรรมสวยงาม และอุโบสถซึ่งมีภาพจิตรกรรมฝาผนังซึ่งได้รับยกย่องว่าสวยงามที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์

หลวงพ่อเพ็ชร[แก้]

หลวงพ่อเพ็ชรเป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่ง หน้าตักกว้าง 32 นิ้ว มีพุทธลักษณะงดงามมาก ชาวอุตรดิตถ์นับถือว่า เป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองอุตรดิตถ์ มีงานนมัสการประจำปีในวันกลางเดือนสี่ของทุกปี

ประวัติหลวงพ่อเพ็ชร[แก้]


พระภิกษุเพชร หรือหลวงพ่อเพ็ชร เจ้าอาวาสวัดท่าถนน ซึ่งเป็นเจ้าของหลวงพ่อเพ็ชร พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ภาพนี้ถ่ายที่ประตูโบสถ์วัดวังเตาหม้อซึ่งถูกไฟไหม้ไปแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2475
เมื่อปี พ.ศ. 2436 หลวงพ่อด้วง เจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ อำเภอบางโพ ซึ่งเป็นอำเภอเมืองปัจจุบัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้เดินทางผ่านบริเวณวัดไผ่ล้อม ต.ทุ่งยั้ง ได้พบจอมปลวกขนาดใหญ่แห่งหนึ่งรูปร่างรูปแหลมผิดกลับจอมปลวกทั่วไป จึงได้เอาไม้เคาะปลายแหลมที่เป็นยอดของจอมปลวกนั้นจนดินหลุดออก เห็นเกศพระพุทธรูปโผล่ออกมา หลวงพ่อด้วงจึงสั่งให้พระและลูกศิษย์วัดที่ร่วมเดินทางไปด้วยช่วยกันขุดดิน จอมปลวกออก ก็พบพระพุทธรูปขนาดค่อนข้างใหญ่ ฝังอยู่ในจอมปลวกแห่งนั้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นั้นไปไว้ที่วัดหนอนไม้
ต่อมาหลวงพ่อด้วงเห็นว่า วัดหมอนไม้ไม่มีพระอุโบสถที่จะประดิษฐานพระพุทธรูปได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับมีประชาชนที่ทราบข่าวพระพุทธรูปองค์นี้ ได้มากราบไหว้บูชาสักการะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังอาจมีปัญหาเรื่องโจรผู้ร้าย จึงพิจารณาเห็นว่า หากเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ไปประดิษฐานที่วัดวังเตาหม้อ (คือวัดท่าถนนในปัจจุบัน) ซึ่งมีหลวงพ่อเพ็ชรเป็นเจ้าอาวาสอยู่ วัดแห่งนี้มีพระอุโบสถ และตั้งอยู่ในที่ชุมนุมชน สะดวกแก่การไปนมัสการของประชาชน ท่านจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อ และถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อเพ็ชร

ภายในอุโบสถวัดท่าถนน จังหวัดอุตรดิตถ์

อัญเชิญไปวัดเบญจมบพิตร[แก้]

ปี พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตร ได้มีการรวบรวมพระพุทธรูปที่เก่าแก่และสวยงาม ที่อยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ มาประดิษฐานไว้ที่วัดเหล่านี้ พระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชร มีพุทธลักษณะงาม ก็ได้รับเลือกสรรให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตร พร้อมกับพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ จากทั่วราชอาณาจักร การที่ต้องนำหลวงพ่อเพ็ชรไปจากวัดลังเต้าหม้อทำให้เจ้าอาวาสเสียใจมาก จึงได้ออกจากวัดธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ สุดท้ายได้มรณภาพบนภูเขาในป่าบ้านนาตารอด ตำบลบ้านด่าน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

อัญเชิญกลับมาจังหวัดอุตรดิตถ์[แก้]

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชร กลับคืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อตามคำขอของชาวเมืองอุตรดิตถ์ ดังข้อความซึ่งปรากฏอยู่ที่ฐานของพระพุทธรูป " หลวงพ่อเพ็ชร " ว่า
"พระพุทธรูปองค์นี้ เมื่อ ร.ศ.119 พระจุลจอมเกล้ารัชกาลที่ 5 ได้อัญเชิญจาก วัดท่าถนนไปไว้ วัดเบญจมบพิตร ครั้น ร.ศ. 129 หลวงนฤบาล ( จะพันยา ) อัญเชิญกลับมาไว้ วัดท่าถนน "

วัดท่าถนน มุมมองจากแม่น้ำน่าน
เหตุที่มีรับสั่งให้นำหลวงพ่อเพ็ชรมาคืนชาวอุตรดิตถ์ครั้งนี้มี มีคำบอกเล่ามาว่าเทวดาประจำองค์หลวงพ่อได้ไปเข้าสุบินสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า อยากกลับอุตรดิตถ์ พระองค์จึงทรงทำตามพระสุบินนั้น
เมื่อปี พ.ศ. 2473 พระครูธรรมกิจจาภิบาล (ทองสุก) หรือพระสุธรรมเมธี อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกับประชาชนชาวเมืองอุตรดิตถ์ได้ช่วยกันสร้างพระวิหารขึ้นใหม่ และอัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชรมาประดิษฐานไว้ในพระวิหาร เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาสักการบูชาได้สะดวก
ปัจจุบันหลวงพ่อเพ็ชรประดิษฐานอยู่ในวิหารทางด้านทิศเหนือของอุโบสถ
(ข้อมูลจากชมรมพระเครื่อง จังหวัดอุตรดิตถ์)
เหรียญเข็มกลัดหลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน ปี พ.ศ.2483 เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และเป็นเหรียญหลัก เหรียญอมตะของวงการไปแล้ว ณ เวลานี้
ราคาเช่าหาก็สูงค่าขึ้นตามกาลเวลาและความนิยม
                           ประวัติการสร้างโดยสังเขป ปี พ.ศ .2483 ชาวบ้าน และคณะกรรมการวัดท่าถนน หรือวัดวังเตาหม้อเดิมนั้น ได้ร่วมกันสร้างเหรียญเข็มกลัดหลวงพ่อเพชรขึ้นมา
ลักษณะของเหรียญเป็นเหรียญปั๊มข้างเลื่อยฉลุ  ด้านหน้าเหรียญ ได้จำลองพุทธลักษณะของหลวงพ่อเพชร ประทับนั่ง ขัดสมาธิ ใต้ฉัตร 9 ชั้น ล้อมด้วยโบหางแซงแซว มีอักษรไทย
ความว่า " หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน "  ด้านล่างมีคำว่า " พ.ศ. 2483 "  ด้านหลังเหรียญ เป็นยันต์ 8 มุม ตรงกลางยันต์ มีอักขระขอมโบราณตัว "นะ" และเชื่อมติดเข็มกลัดไว้
                           
เกจิปลุกเสก โดยมีพระครูธรรมฐิติวงศ์(หลวงพ่อบุญใหญ่) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ เป็นเจ้าพิธี และได้นิมนต์ หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ จ.อยุธยา
(ศิษย์หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง และหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า)  สมเด็จพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์ฯ จ.กรุงเทพ (เป็นเจ้าคณะใหญ่หนเหนือขณะนั้น) หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
จ.นครสวรรค์
หลวงพ่อฝ้าย วัดสนามชัย จ.พิษณุโลก หลวงพ่อแจง วัดเกาะแก้ว จ.พิษณุโลก หลวงพ่อกลม วัดดอยท่าเสา หลวงพ่อไซร้ วัดช่องลม จ.อุตรดิตถ์ หลวงพ่อต่วน วัดลาย
จ.สุโขทัย มาร่วมปลุกเสกเป็นต้น

                    
รูปแบบพิมพ์การสร้าง เหรียญเข็มกลัดหลวงพ่อเพชรแบ่งได้เป็น 2 พิมพ์ คือ
                                                            1. พิมพ์กนกนอก
                                                            2. พิมพ์กนกใน
รายละเอียด ลักษณะของแต่ละพิมพ์
                            1. พิมพ์กนกนอก จะมีด้วยกันหลายเนื้อ
                                                                         1.1 เนื้อเงิน  แบ่งออกเป็น  1.1.1เนื้อเงิน   1.1.2เนื้อเงินลงยาสีแดง  1.1.3เนื้อเงินลงยาสีน้ำเงิน
                                                                         1.2 เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง
                                                                         1.3 เนื้อทองแดงรมดำ
                                       ลักษณะเหรียญเข็มกลัด พิมพ์ กนกนอก จุดสังเกตุ โบว์บริเวณบ่าองค์พระทั้งสองข้างจะม้วน กนกปลายจะแหลมออกนอกขอบ
เหรียญ และที่สำคัญ การเชื่อมเข็มกลัดด้านหลังจะมีแท่งเก็บเข็มกลัด ต่างจากพิมพ์ กนกใน
 
                     2. พิมพ์กนกใน เหรียญพิมพ์กนกในนี้ ยังแยกออกเป็นอีก 2 พิมพ์ คือ 1.พิมพ์กนกในพื้นเรียบ  2.พิมพ์กนกในพื้นเม็ดไข่ปลา(จะมีเม็ดกลมๆเล็กๆเหมือนไข่ปลา ตามพื้นเหรียญ ซึ่งเกิดจากแม่พิมพ์ไม่ค่อยสะอาด)
                                                                         พิมพ์กนกใน จะสร้างแค่ 1 เนื้อ คือ เนื้อทองแดง แต่จะแยกรูปแบบออกเป็น
                                                                                                -  เนื้อทองแดง
                                                                                                -  เนื้อทองแดงกะไหล่เงิน
                                                                                                -  เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง (ซึ่งกะไหล่ทองจะพบเห็นน้อยมาก)
                                                                         ลักษณะเหรียญเข็มกลัด พิมพ์ กนกใน โบว์บริเวณบ่าองค์พระทั้งสองข้างจะม้วนเป็นกนก ซึ่งจะอยู่ภายในขอบซุ้มตัวเหรียญ ไม่ยื่น
ออกไปด้านนอก เหมือนพิมพ์กนกนอก และเข็มกลัดด้านหลัง จะไม่มีแท่งเก็บเข็มกลัด เหมือนพิมพ์กนกนอก


                           สำหรับเหรียญนี้้ป็นเหรียญเนื้อทองแดงแบบกนกใน ที่ถือว่ายังสวยงามมาก
                            
                            พุทธคุณ   คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัย 
                     
                            สภาพ    สวย
        
                            ราคา   ติดต่อสอบถาม
Close Menu