พระพิษณุโลก | Prapsl.com

พระพิษณุโลก | Prapsl.com

ลำดับ 462 พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง พิษณุโลก

  


  

                           พระนางพญาพิมพ์ใหญ่ เข่าตรง กรุวัดนางพญา พิษณุโลก


ประวัติความเป็นมาของวัดยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นผู้ใดสร้าง   
                บ้างว่าเป็นพระมหาธรรมราชาที่ สร้างให้แก่พระมเหสี  บ้างว่าสมเด็จพระนเรศวรสร้างให้แก่พระพี่นาง  ที่ไปเป็นตัวประกันที่เมืองพม่า
                วัดนางพระยา  หรือ  วัดนางพญา  ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  (วัดใหญ่ )  กับวัดราชบูรณะ โดยมีถนนกั้นไว้
                การขุดพบพระพิมพ์
            ในสมัยของ  พระครูอนุโยคสาสนกิจ (รอด   อิน.ทสโร )  เจ้าอาวาสวัดนางพญา ( เป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอเมืองด้วย )  ประมาณปี พ.ศ.  2470  กว่า ๆ

                พระเจดีย์ด้านตะวันออกใกล้ถนนใหญ่ในปัจจุบันได้พังลง  เศษอิฐ,เศษปูน  กระจัดกระจายไปทั่ว  ท่านสมภาร
“ หลวงปู่รอด “  ให้พระ - เณร  ชาวบ้านช่วยกันขนอิฐ  เศษปูนเอาไปถมหลุมบ่อที่อยู่ในวัด  การขนเศษอิฐ  เศษปูน  พบว่าในกองสิ่งหักพังนี้ มีพระพิมพ์อยู่ด้วย แต่คนสมัยนั้นไม่นิยมสะสมพระเครื่องมากนัก  มีเพียงไม่กี่คนเอาติดมือกลับบ้านบ้างเท่านั้น ที่เหลือนำไปถมหลุมบ่อจนหมดสิ้น  สภาพการพังทลายของเจดีย์พังเฉพาะส่วนกลางขึ้นไป ส่วนฐานยังคงอยู่
                พ.ศ.  2485  สงครามโลกครั้งที่  ทหารญี่ปุ่นเต็มไปหมดเกือบทุกจังหวัด  พิษณุโลกญี่ปุ่นมาตั้งค่ายส่วนหนึ่ง
เพราะภัยสงคราม ระเบิดที่ถล่มทลายลงมาของพันธมิตรทำให้  พระสงฆ์ และประชาชน ต้องหลบภัยในหลุมหลบภัยตามวัด ตามบ้าน ที่พอจะให้คนเข้าไปอยู่ได้ – คน เป็นอย่างน้อย
                หลุมหลบภัยของวัดนางพญาคือหลุมบ่อบริเวณสวนกล้วยที่เอาเศษอิฐ เศษปูน ไปถมนั่นเอง  จากการขุดหลุมหลบภัยพบพระพิมพ์จำนวนหนึ่งปะปนกับเศษอิฐ เศษดินที่ขุดขึ้นมา  และเพราะสงครามอันตรายทำให้ผู้คนแสวงหาสิ่งคุ้มครองตน  พอเห็นพระก็รีบคว้าเก็บทันที  การพบพระพิมพ์เป็นข่าวทำให้คนแห่มาขุดหากันใหญ่  ทางวัดก็ขุดหา  พระเณรช่วยกัน  เมื่อได้ก็นำมาให้สมภารเจ้าวัด  ส่วนที่ชาวบ้านได้ก็เอากลับบ้านไป การขุดตะลุยจนทางวัดต้องขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาไล่เนื่องจากทำลายต้นไม้และที่ดินของวัดเสียหายมาก
การพบพระพิมพ์กรุวัดนางพญา  เป็นด้วยเหตุฉะนี้


พระนางพญา  กรุวัดนางพญา  จังหวัดพิษณุโลก
                พระนางพญากรุวัดนางพญา  จังหวัดพิษณุโลกเป็นพระพิมพ์ที่มีศิลปะเรียบง่ายแต่สวยงาม  ลักษณะรูปร่างเป็นเอกลักษณ์คือ  รูปสามเหลี่ยม  องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย  พระหัตถ์ขวาพาดเข่าขวา  พระหัตถ์ซ้ายวางพาดบนหน้าตัก  การแบ่งพิมพ์พระนางพญาแบ่งตามขนาดขององค์พระและรายละเอียดที่เด่นในแต่ละพิมพ์ ดังนี้
     1. พิมพ์เข่าโค้ง    
2.  พิมพ์เข่าตรง    
3.  พิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า   
4.  พิมพ์อกนูนใหญ่   
5.  พิมพ์สังฆาฏิ
     6.   พิมพ์เทวดา        
     7.  พิมพ์อกนูนเล็ก

พระนางพญา  พระยอดนิยมของจังหวัดพิษณุโลก ผู้สัดทัดกรณีได้แบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้เป็น  กลุ่ม  ใหญ่ ๆดังนี้
    - ชุดพิมพ์ใหญ่  มี  พิมพ์เข่าโค้ง  พิมพ์เข่าตรง  พิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า  และพิมพ์อกนูนใหญ่
    - ชุดพิมพ์เล็ก  มี  พิมพ์สังฆาฏิ  พิมพ์ทรงเทวดา  และพิมพ์อกนูนเล็ก

พระนางพญาทุกพิมพ์  เป็นพระที่ไม่ได้มีขอบปีกบังคับ  โบราณท่านทำขอบ  โดยเอาของมีคมตัดเอา  ข้างขอบมีรอยครูดของเม็ดทรายเฉียงลง  อนุโลมเรียกรอยข้างตัดนี้ว่า  รอยตอกตัด  เมื่อพระนางพญา  มีขอบข้างเกิดจากการตัด  ปีกจึงเอาแน่นอนตายตัวไม่ได้  อาจใหญ่หรือเล็กกว่าได้เล็กน้อย

                          สำหรับองค์นี้เป็นพิมพ์ใหญ่ เข่าตรง นิยมครับ

                          พุทธคุณ   เมตตามหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาดปลอดภัย
                        
                          สภาพ   สวย ดูง่าย 

                          ราคา   ติดต่อสอบถาม
Close Menu