

พระท่ามะปราง กรุเจดีย์ยอดทอง พิษณุโลก
เมืองพิษณุโลก เป็นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่ขอมมีอำนาจจนไล่มาถึงสมัยสุโขทัย
เพราะฉะนั้นประติมากรรมของขลังต่างๆ จึงมีหลายสมัยรวมกันไม่ว่า ขอม
สุโขทัย อยุธยา ตลอดจนรัตนโกสินทร์ และวัสดุที่ใช้ในการสร้างพระบูชา และ
พระเครื่องของเมืองพิษณุโลก ก็มีวัสดุแทบทุกอย่างในการสร้างไม่ว่า ทองคำ
เงิน ดิน ชิน สำริด
เมืองพิษณุโลกจัดเป็นเมืองพระเมืองหนึ่ง ที่มีพระเครื่องชั้นนำหลากหลาย
ของเมืองไทย พระชั้นนำระดับประเทศ ซึ่งถูกจัดให้เป็นพระหนึ่งในห้าชุดเบญจ
ภาคีประเภทเนื้อดิน ที่มีชื่อเสียงคือ " พระนางพญา " กำเนิดที่วัดนางพญา
พิษณุโลก ผู้ที่สร้างคือ " พระวิสุทธิกษัตรี " มเหสีของ " สมเด็จพระมหา
ธรรมราชา " สร้างประมาณปี พ.ศ. 2090 ถึง 2100 หรือประมาณ 400 กว่าปีล่วง
มาแล้ว " พระนางพญา " เป็นพระพุทธรูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว พิมพ์พระนั่งเป็น
ปางมารวิชัยไม่ประทับบนอาสนะหรือมีฐานรองรับ รูปทรงงดงามแทบทุกพิมพ์
โดยเฉพาะจะเน้นบริเวณ " อก " ที่ตั้งนูนเด่นและลำแขนทอดอ่อนช้อยคล้ายกับ
" ผู้หญิง " จึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่าพระพิมพ์ " นางพญา "
พระพิมพ์รูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ของเมืองพิษณุโลกหรือที่มีอีกชื่อหนึ่งว่า
เมือง " สองแคว " ที่ถูกค้นพบเป็นแบบพระพิมพ์อื่นๆก็มีอีกหลายพิมพ์ " พระท่า
มะปราง " กรุ " เจดีย์ยอดทอง " เป็นพระเครื่องพิมพ์สามเหลี่ยมอีกสกุลหนึ่งที่ถูก
ค้นพบได้อีกเช่นกัน เป็นพระศิลปะสุโขทัยแบบ " วัดตะกวน " พุทธลักษณะนั่งปาง
มารวิชัยอยู่บนฐานบัว จะมีสัญลักษณ์เด่นกว่าพระท่ามะปรางกรุอื่นๆ ในด้านความ
งามที่มีพิมพ์พระ คม ลึก ชัดเจน แม้ว่าองค์พระจะแลดู ต้อ และ เตี้ย กว่า เล็กน้อย
ก็ตาม มีทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน พุทธคุณนั้น ยอดเยี่ยมทางแคล้วคลาด เมตตามหา
นิยม และคงกระพันชาตรี ขนาดองค์พระนั้นเล็กกว่าพระท่ามะปรางพิมพ์อื่นๆเล็ก
น้อย แต่ก็แลดูน่ารักขนาดเหมาะสมพอดีสำหรับบูชาขึ้นคอ โดยกว้างประมาณ 2
ซม. สูงประมาณ 2.5 ซม.
พุทธุคุณ คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัย
สภาพ เดิม ๆ จากกรุ
ราคา ติดต่อสอบถาม