พระพิษณุโลก | Prapsl.com

พระพิษณุโลก | Prapsl.com

ลำดับที่ 504 พระรูปเหมือนป้ำ หลวงพ่อเดิม พิมพ์ B วัดหนองโพธิ นครสวรรค์

  



  
                           พระรรูปเหมือนป้ำ หลวงพ่อเดิม พิมพ์  B วัดหนองโพ นครสวรรค์




รูปเหมือนพิมพ์ปั๊มหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จัดสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ พร้อมเหรียญรูปไข่ในคราวที่หลวงพ่อเดิมอายุครบ ๘๒ ปีพรรษา ๖๐ (ตรงนี้น่าคิดว่าท่านเกิด พ.ศ. ๒๔๐๓หรือ๒๔๐๐เพราะถ้าเกิด พ.ศ. ๒๔๐๓ เหรียญระบุพ.ศ. ๒๔๘๒หลวงพ่อเดิมน่าอายุ ๗๙ แต่ถ้าท่านเกิด พ.ศ. ๒๔๐๐ ก็จะตรงตัวที่ เหรียญปี ๘๒ อายุ ๘๒พอดี ครับต้องเก็บไว้คิด)โดยทางคณะศิษย์จ้างโรงปั๊มที่พระนคร (มีผู้รู้บอกว่าสั่งปั๊มที่โรงงาน “ชโลกุล” ที่กรุงเทพโดยทางคุณประดิษฐ์ ลิ้มประยูรพนักงานรถไฟลูกศิษย์เอกหลวงพ่อเดิมเป็นผู้มาติดต่อ) รูปเหมือนปั๊มที่จัดสร้างในคราวนั้นมีจำนวนไม่มากอยู่ในราวไม่กี่พันองค์ มีอยู่ด้วยกัน ๒ เนื้อ คือ ๑. เนื้อทองเหลือง ๒. เนื้อช้อนซ้อม(หรือที่เราเรียกว่าเนื้ออัลปาก้า) ที่เรียกเนื้อช้อนซ้อมเพราะทางโรงงานใช้ช้อนซ้อมตราแพะมาหลอมรีดเป็นวัตถุดิบ
รายละเอียดในการจัดสร้าง รูปเหมือนปั๊มนี้เท่าที่ศึกษาค้นคว้ามามีเพียงบล็อก(แม่พิมพ์)ตัวเดียวคือช่างจะแกะบล็อกด้านหน้าและด้านหลังเพียงชุดเดียว(แม่พิมพ์เป็นเหล็กชุบแข็ง) เครื่องมือที่ใช้ปั๊มเรียกว่า “ข้อเสือ” หลักการทำงานคือใช้แรงเหวี่ยงคน ผลักให้ตุ้มโลหะหมุนเครื่องปั๊มให้กระแทกโลหะลงบนบล็อกโดยบล็อกด้านหน้า(หลวงพ่อ)อยู่ด้านล่าง บล็อกตัวแม่พิมพ์ด้านหลังอยู่ด้านบน โลหะที่ใช้ต้องผ่านการหลอมรีดตัดให้ได้ขนาดเพื่อนำเข้าเครื่องปั๊ม แต่ก่อนที่จะปั๊มต้องนำโลหะนั้นไม่ว่าจะเป็นทองเหลืองหรือเนื้อช้อนซ้อม(อัลปาก้า) มาล้างและเป่าไฟให้ร้อนระดับหนึ่งเพื่อให้โลหะนั้นอ่อนตัวลงง่ายกับการปั๊ม (ตรงนี้เป็นเทคนิคทางช่างปั๊มโบราณที่ต้องใช้การเป่าไฟช่วยเพื่อให้โลหะนั้นกินพิมพ์ เพราะถ้าไม่ใช้ไฟเป่าให้โลหะนิ่มลงโลหะนั้นจะไม่กินพิมพ์ก็คือปั๊มไม่ขึ้น จุดในการใช้ไฟเป่านั้นต่อมาถือว่าเป็นจุดพิจารณาอีกจุดหนึ่งที่ใช้บ่งบอกพระแท้-ปลอมได้เพราะ ในบางองค์ผ่านการเป่าไฟมากเกินไปผิวพระจะเป็นกาบหรือผิวไหม้)และหลังจากเป่าไฟแล้วจึงนำเข้าเครื่องปั๊มเสร็จแล้วต้องนำมาล้างและทำการเป่าไฟเพื่อเข้าเครื่องปั๊มอีกและนำมาล้างทำอย่างนี้อยู่หลาย ๆ เที่ยวกว่าพระที่ปั๊มจะติดรายละเอียดคมชัด( บางท่านอาจคิดว่าเข้าเครื่องปั๊มครั้งเดียวก็ได้เป็นการเข้าใจผิดเพราะรายละเอียดขององค์พระนั้นมีมากตลอดจนความหนาของโลหะที่นำมาปั๊ม ถ้าใช้เครื่องปั๊มที่มีความแรงเช่นเครื่องจักรปั๊มปัจจุบันที่ใช้ไฮโดรลิกกระแทกแม่พิมพ์หรือบล็อก ก็ไม่สามารถรับแรงกระแทกได้เพราะทำให้บล็อกชำรุด) เมื่อเสร็จจากกระบวนการปั๊มแล้วต้องนำรูปหล่อเหล่านั้นมาทำการตัดปีก(ขอบ)และแต่งตะไบเก็บรายละเอียดของด้านข้างคือแต่งริ้วจีวรข้าง แต่งริ้วจีวรตะโพกฯ เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้แล้วจะนำรูปหล่อทั้งหมดมาล้าง(ด้วยกรดและตีแปรง)ทำความสะอาดก่อนส่งวัดและทางวัด(พระ)จะนำไปลงเหล็กจารใต้ฐานกำกับและนี่คือขั้นตอนในการจัดสร้างรูปเหมือนปั๊มหลวงพ่อเดิมวัดหนองโพ ในระหว่างการผลิต(ปั๊ม)บล็อกแม่พิมพ์มีเพียงชุดเดียวเมื่อผ่านการกระแทกไปบ่อยครั้งแม่พิมพ์นั้นเกิดการชำรุดแตกตัวเป็นรายละเอียดที่เริ่มแตกต่างจากการปั๊มในคราวแรก ๆนักนิยมสะสมพระเครื่องก็เลยจับจุดปลีกย่อยเหล่านี้มาจำแนกพิมพ์เป็นพิมพ์นิยม ๑(เอ)-๒(บี)-๓(ซี)-๔(ดี)และสุดท้ายแม่พิมพ์ด้านหน้าชำรุดคือตื้นและแตก ช่างทำการทำแม่พิมพ์ด้านหน้าใหม่เพิ่มขึ้นอีก ๒ แบบพิมพ์คือ ๑. พิมพ์คอตึงจีวรถี่ ๒. พิมพ์คอตึงจีวรห่าง แต่แม่พิมพ์ด้านหลังคงใช้แม่พิมพ์เดิมฉะนั้นด้านหลังของแม่พิมพ์คอตึงจึงมีแบบเดียวกับแม่พิมพ์ที่ ๔ (ดี) แต่เฉพาะรูปเหมือนปั๊มพิมพ์คอตึงทั้ง ๒ แบบพิมพ์จะมีเนื้อทองเหลืองเพียงชนิดเดียวไม่เคยพบว่ามีเนื้อช้อนซ้อม(อัลปาก้า)แต่อย่างใดและนี่คือข้อมูลในการจัดสร้างรูปเหมือนปั๊มหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ รูปเหมือนที่ได้จากการปั๊มนั้นต้องเรียบตึงไม่มีรูพรุนหรือฟองอากาศเด็ดขาดไม่มีตุ่มนูนหรือเม็ดผดขึ้นตามผิวองค์พระเด็ดขาดต้องจดจำรายละเอียดต่าง ๆหรือตำหนิได้ ต้องจำลายมือในการลงเหล็กจารใต้ฐานแม่น(ใต้ฐานเรียบและมักจะมีรอยเหล็กจาร รูปเหมือนปั๊มโดยมากจะเป็นลายมือของหลวงพ่อน้อย ศิษย์เอกหลวงพ่อเดิมกำกับแต่ก็มีมากกว่าสองลายมือที่ลงเหล็กจาร ลายมือหลวงพ่อน้อยนั้นเส้นจะเล็ก สวยงามตรง จุดนี้สำคัญ) และที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดเพื่อให้ท่านสมาชิกได้ทราบถึงกระบวนการผลิตเพื่อที่จะได้คิดพิจารณาตาม เพราะการสะสมพระฯให้สนุกต้องมีสติและความรอบคอบ รายละเอียดต่าง ๆ ล้วนมีความสำคัญในการพิจารณาทั้งสิ้นและไม่ว่าจะศึกษาพระเครื่องชนิดไหนก็ตามถ้าเราไม่รู้ว่าจัดสร้างอย่างไรเราก็จะหาจุดที่จะพิจารณาไม่ได้ครับ ท้ายสุดขอให้ท่านสมาชิกได้สะสมแต่ของดีของแท้ให้ได้พระฟลุกโชคดีครับ

จุดในการพิจารณารูปเหมือนปั๊มหลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพ


รายละเอียดทุกส่วนคมชัดเพราะเป็นการปั๊มในคราวแรก ๆ
๑. คำว่าหลวงพ่อเดิม “เดิม” ตัว “ด” และสระ “อิ” จะชัดเจนสระอิเป็นเส้นไม่แตก
๒.ในองค์ที่ปั๊มคมชัดจะเห็นเส้นขนแมวในซอกแขนขวาสองเส้นเป็นตัว “วี”
๓. ด้านหลังซอกแขนขวาไม่มีเนื้อเกินปรากฏ
๔. บริเวณชายสังฆาฏิชนฐานจะไม่มีเนื้อเกิน
๕. ใบหูหลวงพ่อ(ด้านหลัง) จะแต่งคล้ายใบหูคน
๖. บริเวณฐานด้านหลังไม่มีสันเหลี่ยมจะเป็นครึ่งวงกลมจึงเป็นที่มาของพิมพ์นิยมฐานกลมและเฉพาะเนื้อทองเหลืองในบางองค์จะเห็นมีการรมดำปรากฏอยู่ตามผิวตามซอกนับเป็นเอกลักษณ์ของพิมพ์ฐานกลมพิมพ์เดียวพิมพ์อื่นไม่ปรากฏว่ามีน้ำยารมดำ
๗. ด้านหน้าคำว่าหลวงพ่อเดิมหัวมุมฐานด้านล่างส่วนใหญ่จะมนยุบเล็กน้อย


ด้านหน้าเช่นเดียวกับพิมพ์ฐานกลมทุกประการจะแตกต่างกันที่ด้านหลัง 
๑.ไม่มีเนื้อเกินในซอกแขนขวา (ด้านหลัง)
๒. ชายสังฆาฏิจะมีเนื้อเกินต่อฐาน (แม่พิมพ์ส่วนนี้เริ่มแตกแล้ว)
๓.ใบหูหลวงพ่อด้านหลังจะแต่งเป็นเหลี่ยม                                            
๔. ฐานด้านหลังเริ่มมีการแต่งตะไบเป็นเหลี่ยมเล็กน้อยและไม่เคยพบว่าพิมพ์นี้มีการรมดำ        
๕. ด้านหน้าคำว่าหลวงพ่อเดิมหัวมุมฐานด้านล่างส่วนใหญ่จะมนยุบเล็กน้อย

                 สำหรับองค์นี้เป็นพิมพ์ B ครับ

                 พุทธคุณ    คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัยนำ

                 สภาพ        ผ่านการใช้ทำใหดูง่าย ยังสวยครับ

                 ราคา          ติดต่อสอบถาม  (ขายแล้ว)


Close Menu