พระพิษณุโลก | Prapsl.com

พระพิษณุโลก | Prapsl.com

ลำดับ 506 พระรูปหล่อโบราณหลวงพ่อเงิน พิมพฺ์สี่ชาย วัดบางคลาน พิจิตร

  



                                  พระรูหล่อโบราณ หลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตาสี่ชาย  บางคลาน พิจิตร
พระรูปหล่อโบราณหลวงพ่อเงินพิมพ์ขี้ตา


หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ” มีนามเดิมว่า "เงิน" เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๐ ปีฉลู ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๓๔๘ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งรัตนโกสินทร์ บิดาชื่อ นายอู๋ มารดาชื่อ นางฟัก เป็นชาวบ้าน ต.บางคลาน จ.พิจิตร เป็นชาวบ้านบางคลาน อ.บางคลาน จ.พิจิตร มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น ๖ คนด้วยกัน เป็นบุตรคนที่ ๔

หลวงพ่อเงิน สามารถรู้วาระจิตผู้มาเยือนด้วยญาณวิเศษได้อย่างมหัศจรรย์ และยังเป็นหมอเชี่ยวชาญในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ชาวบ้านได้อย่างชะงัด อีกด้วย เคยมีผู้ไปลองดีกับท่าน ท่านก็แอ่นอกให้ยิง แต่กระสุนไม่ยอมออกจากลำกล้อง ความศักดิ์สิทธิ์เยี่ยงอัจฉริยะของ "หลวงพ่อเงิน" บางคลาน นับว่าร่ำลือกันไปไกลมาก จนถึงขนาดเสด็จในกรม "กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์" ก็ยังเสด็จไปฝากตัวเป็นศิษย์ด้วย

หลวงพ่อเงิน ท่านได้สร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลไว้หลายชนิด แต่ที่นิยมกันสุดๆ มี ๔ พิมพ์ คือ รูปหล่อพิมพ์นิยม รูปหล่อพิมพ์ขี้ตา เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ และเหรียญหล่อพิมพ์จอบเล็ก อายุการสร้างถึงวันนี้ประมาณ ๑๐๐ ปี ค่านิยมพระหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พุทธคุณของท่านนั้นเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และโชคลาภ

แต่ที่สำคัญที่สุดคือ เนื้อโลหะ ความเก่าที่เป็นธรรมชาติอายุร้อยปีควรเป็นอย่างไรซึ่งความเก่านั้นจะแสดงออกมาเองว่าจะถึงยุคหรือไม่ จะแท้หรือไม่แท้ความเก่าจะบอกมากกว่า เพราะ พระยุคนี้ ไม่มีใครเกิดกันทัน ถึงจะทันเขาก็ไม่ได้มาสนใจอะไรมากมายและก็ไม่มีใครที่จะมาจดจำว่าตำหนิต้องอย่างนั้นอย่างนี้
สมัยก่อนพระเขามอบให้กันด้วยความศรัทธาต่อกัน หรือแล้วแต่ความชอบพอสนิมสนมกันมากกว่าจนแทบว่าเขาบูชาความศักดิ์สิทธิ์ตามที่เคารพนับถือ ไม่ใช้มาวัดเป็นเงินเป็นตามสมัยนี้
แต่ปัจจุบัน เพราะความศักดิ์สิทธิ์ ความเลื่อมใสและอนุภาพขององค์หลวงพ่อมีอภินิหารดังที่ประจักษ์ดังทุกวันนี้ ทำให้ คนที่มีจะเก็บรักษาไว้คุ้มครองตัวเองเป็นส่วนมาก ถึงอาจวัดได้ว่าผู้มีบารมีเท่านั้นที่จะได้มาคุ้มครองตัวเอง ทำให้พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินมีจำนวนน้อยลงและหายาก
ถ้าใครอยากได้ไว้คุ้มครองเสริมบารมีคงต้องใช้เงินตรามากพอสมควร เพื่อเป็นศิริมงคลชีวิตและครอบครัว
อนึ่งจากบทความที่น่าสนใจ หลวงพ่อเงินตอนท่านมีชีวิตก็มีการสร้างหลายครั้งหลายวัดหลาย ๆ โอกาส คือทันท่าน ถ้าไม่ศึกษาอย่างจริงจังถึงวิธีการสร้าง การใช้โลหะสร้าง การสร้างแม่พิมพ์ ให้ดีแล้วก็เป็นที่น่าเสียดายที่อนุชนรุ่นหลังแทบจะไม่รู้จักกันเลยทีเดียว แต่จะเห็นที่ชินตาก็ตามหนังสือที่ลงไว้ว่าเป็นพิมพ์นิยม พิมพ์ขี้ตาสามชายจีวรคว่ำ พิมพ์ขี้ตาสี่ชายจีวร พิมพ์ขี้ตาห้าชายหรือสามชายจีวรเฉียง เท่านั้นและมีการชี้ตำหนิต่าง ๆ ไว้อย่างหลากหลาย พระที่หล่อโดยวิธีหล่อโบราณจะเหมือนกัน
ทุกองค์นั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ น่าจะเพียงแต่พิมพ์ทรงรูปลักษณ์โดยรวมก็พอได้ ส่วนตามวัดต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมา ตามที่ลูกศิษย์สร้างขี้นตามวาระและโอกาสต่าง ๆ เช่นในงานประเพณีแข่งเรือประจำปีที่วัด
ซึ่งมิได้ใช้แม่พิมพ์เดียวกัน ในการสร้างของคหบดีมีฐานะร่ำรวยสร้างแล้วให้หลวงพ่อปลุกเสกแล้วบรรจุกรุต่าง ๆ ตามศรัทธาและคติความเชื่อโบราณก็หลายครั้ง หลายกรุ หลายวัด แต่ไม่เป็นที่รุ้จักต่อไปก็จะเป็นเพียงพระ ในตำนานไป

รูปเหมือนหลวงพ่อเงินว่าด้วยน้ำหนักตำรับชาวพิจิตร

รูปหล่อหลวงพ่อเงิน “พิมพ์นิยม” และ “พิมพ์ขี้ตา”
แต่เดิมคนพิจิตรเขาเรียกรูปหล่อหลวงพ่อเงินตามน้ำหนัก และ สันฐานขององค์พระ

โดยแบ่งเป็นสองประเภทคือ...
1. แบบแบน (จอบเล็ก –จอบใหญ่)
2. แบบกลม (พิมพ์นิยม – พิมพ์ขี้ตา)

แบบแบน ก็คือพระเครื่องหลวงพ่อเงินพิมพ์ จอบเล็ก และจอบใหญ่

เชื่อกันว่าพิมพ์จอบเล็กสร้างก่อนพิมพ์อื่น ๆทั้งหมดโดยช่างฝีมือชาวบ้าน

แบบกลม คือพระเครื่องหลวงพ่อเงินแบบลอยองค์ เช่น...พิมพ์นิยม และ พิมพ์ขี้ตา

นอกจากนี้ชาวพิจิตรเขายังประมาณน้ำหนักของพระเอาไว้กับการเรียกขานด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระรูปเหมือนหล่อโบราณที่เรียกว่าแบบกลมนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ขนาดคือ...

ขนาดน้ำหนักหกสลึง และ แบบขนาดน้ำหนักหนึ่งบาท

1. พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์ขี้ตา พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์ขี้ตา

เขานิยมเรียกกันว่า แบบกลมหกสลึง ไม่ได้เรียกว่า “พิมพ์ขี้ตา”

สมัยก่อนใครมีหลวงพ่อเงินก็จะนำมาอวดกันคุยกันถามว่า แบบ กลม หรือ แบบแบน

คำว่าพิมพ์ขี้ตาหรือพิมพ์นิยมนี้เพิ่งจะเรียกกันตามลักษณะของพระที่มีเม็ดโลหะเป็นติ่งเล็กๆ

ที่อยู่ตรงหัวตาซ้ายขวาย้อยลงมาข้างล่างก็เลยเรียก พิมพ์ขี้ตาตามสภาพที่เห็น แบบกลมพิมพ์ขี้ตา

แยกออกเป็นหลายพิมพ์เช่น แบ่งเป็นพิมพ์ 3 ชาย 4 ชาย 5 ชาย

โดยสักเกตุจากริ้วจีวร เป็นงานช่างฝีมือชาวบ้านจึงดูเข้มขลังและมีเสน่ห์มากกว่าพิมพ์นิยม

พิมพ์ขี้ตานั้นใช้วิธีการหล่อแบบวิธีแม่พิมพ์ประกบหรือเทแบบเบ้าหก

พระพิมพ์ขี้ตาจึงมีเนื้อเกินมาก และมีตะเข็บข้างซ้ายขวาชัดเจนทุกองค์

2. พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม ชาวพิจิตรรู่นเก่าก่อน เรียกพระรูปหล่อพิมพ์นิยมนี้ว่า

“แบบหกสลึง” ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐานที่พบเห็นกันอยู่ในขณะนี้ ...


                       สำหรับรูปหล่อหลวงพ่อเงินองค์นี้ เป็นพิมพ์ขี้ตา สี่ชาย จีวรยาว ค่อนข้างหายาก ตรงผ้า

สังฆาฏิ หล่อไม่เต็มแต่เดิม เป็นธรรมชาติ ดูง่ายและคลาสสิคไปอีกแบบหนึ่งครับ

                     
                         พุทธคุณ    ครบเครื่องทั้งโชคลาภ เมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

                         สภาพ        เป็นพระที่่ผ่านการใช้  สวยคลาสสิค 

                         ราคา          ติดต่อสอบถาม
Close Menu