พระพิษณุโลก | Prapsl.com

พระพิษณุโลก | Prapsl.com

ลำดับ 507 พระขุนแผน บ้านกร่าง พิมพ์แขนอ่อน หน้านาง สุพรรณบุรี




                                     
  

                                            พระขุนแผนบ้านกร่าง กรุบ้านกร่าง สุพรรณบุรี


วัดการจำแนกพิมพ์ทรงพระกรุบ้านกร่าง 

                        ( บทความดูพระแท้ ดอดคอม )
         พระกรุวัดบ้านกร่าง เข้าใจว่ามีจำนวนถึง 84,000 องค์ตามคติการสร้าง พระพิมพ์ในสมัยโบราณ เมื่อพระแตกกรุขึ้นมาก็ได้มีผู้แยกแบบ แยกพิมพ์ต่างๆ ตามความแตกต่างของพุทธลักษณะ ซึ่งมีจำนวนกว่า 30 พิมพ์ขึ้นไป บางแบบ ก็เรียกว่า “พระขุนแผน” ซึ่งมีพิมพ์ยอดนิยม เช่น พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่ พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกเล็ก พิมพ์ทรงพลใหญ่ พิมพ์ทรงพลเล็ก พิมพ์พระประธาน พิมพ์เถาวัลย์เลื้อย พิมพ์แขนอ่อน ฯลฯ บางแบบก็เรียกว่า “พระพลาย” อันหมายถึงลูกของขุนแผน ซึ่งมีทั้งที่พิมพ์เป็นคู่ติดกัน เรียกว่า “พระพลายคู่” และองค์เดี่ยวๆ เรียกว่า “พระพลายเดี่ยว” ซึ่งแต่ละพิมพ์ก็ยังแบ่งแยกออกไปอีกเป็นสิบๆ พิมพ์  เช่น พลายคู่หน้ายักษ์ หน้ามงคล หน้าฤาษี หน้าเทวดา พลายเดี่ยวพิมพ์ชะลูด พิมพ์ก้างปลา ฯลฯ การที่คนรุ่นเก่า เลือกที่จะตั้งชื่อ พระพิมพ์นั้นว่า ขุนแผน พิมพ์นี้เรียกพลาย คนรุ่นใหม่ คงไม่ทราบหลักเกณฑ์ หรือ ที่มาชัด ซึ่งคงเดาใจว่า คนที่ตั้งชื่อ ขุนแผน คงจะดูรูปร่างศิลปะในองค์พระ ถ้าพระองค์ ใดมีรูปแบบศิลปะสวยงามสะดุดตา ก็เรียกว่า พระขุนแผน ไว้ก่อนส่วนพระพิมพ์ใดหย่อนคุณค่าทางด้านศิลปะความงาม ความอ่อนช้อยก็ตั้งชื่อเรียกว่า พระพลาย เพื่อให้แตกต่างกันไป…
          อายุการสร้างของ พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง
          พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี เมื่อพิจารณาจากศิลปะแล้ว บอกให้รู้ว่าเป็น พระในสมัยอยุธยาตอนกลาง โดยมีศิลปะที่อ่อนช้อยสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ที่สำคัญที่สุด คือ ในจำนวนพระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่างนี้ มีอยู่พิมพ์หนึ่งนั่นคือ “พระขุนแผน พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่” มีลักษณะและศิลปะเหมือนกับ “พระขุนแผนเคลือบ” ที่แตกกรุออกมาจากเจดีย์ วัดใหญ่ชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเจดีย์องค์นี้มีบันทึกไว้ในพงศาวดาร ว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โปรดให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2135 ตามคำทูลแนะนำของสมเด็จพระวันรัตน์ วัดป่าแก้ว เพื่อเฉลิมพระเกียรติ แห่งชัยชนะในการทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา แห่งพม่า พระเจดีย์องค์นี้ชื่อว่า “พระเจดีย์ชัยมงคล” แต่ชาวบ้านเรียกว่า “พระเจดีย์ใหญ่” เพราะเป็นเจดีย์ ที่ใหญ่ที่สุดในอยุธยา ซึ่งตามประเพณีมาแต่โบราณว่า เมื่อสร้างพระเจดีย์แล้ว จะสร้างพระพิมพ์บรรจุไว้ด้วย
         เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ถือกันว่าได้กุศลแรง พระขุนแผนเคลือบคงสร้าง เพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์ วัดใหญ่ชัยมงคลในครั้งนั้น
ความคล้ายคลึงกันของพุทธศิลป์ ของ พระขุนแผน เคลือบกรุวัดใหญ่ชัยมงคล กับ พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี โดยเฉพาะพิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่นี้ เมื่อนำพระทั้งสองมาเปรียบเทียบกัน จะเห็นความแตกต่างกันน้อยมาก โดยเฉพาะเส้นสายและลวดลายการแกะของแม่พิมพ์ ทำให้น่าเชื่อว่า ช่างที่แกะสมัยนั้น คงเป็นคน คนเดียวกัน หรือ สกุลช่างศิลปะในสำนักเดียวกัน อายุการสร้างอาจไม่แตกต่างกันมากนัก หรืออาจแกะในคราวเดียวกัน และพิมพ์ในคราวเดียวกัน แต่ได้มีการแยกบรรจุเจดีย์ ต่างกัน ดังนั้น จึงพอที่จะสันนิษฐานได้ว่า พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง คงมีอายุอยู่ในราวรัชกาล สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ ประมาณ 400 ปีล่วงมาแล้ว
          ลักษณะธรรมชาติ  พระกรุวัดบ้านกร่าง
         พระกรุวัดบ้านกร่าง โดยทั่วไปไม่ว่า จะเป็น พิมพ์พระขุนแผน พระพลายเดี่ยว พระพลายคู่ นั้นเป็นพระเนื้อเดียวกัน คือ เนื้อดินเผาผสมว่านและเกสรดอกไม้ นานาชนิด ไม่ปรากฏว่ามีเนื้อประเภทอื่น ลักษณะเนื้อพระ มีทั้งชนิด เนื้อละเอียด และ เนื้อหยาบ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทเนื้อหยาบที่มีส่วนผสมของกรวดทรายมาก มีทั้งแดง สีพิกุล สีเขียว และสีดำ ตามความอ่อนแก่ของความร้อนในขณะเผาไฟ แต่ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหยาบหรือละเอียด สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ต้องมี ว่านดอกมะขาม มี แร่ทรายเงิน แร่ทรายทอง และ “รอยว่านหลุด” อยู่ด้วยทุกองค์ รอยว่านหลุด ดังกล่าว เป็นร่องเล็กๆ สัณฐานไม่แน่นอน เป็นรูปแท่งสี่เหลี่ยม บ้าง สามเหลี่ยม บ้าง และเป็น ร่องลึก ร่องตื้น  ก็ได้ รอยว่านหลุด นี้ ถือเป็นเอกลักษณะของเนื้อพระกรุวัดบ้านกร่างที่จะขาดเสียมิได้ในการพิจารณา

            สำหรับองค์นี้เป็นพระขุนแผนพิมพ์แขนอ่อน หน้านาง ครับ

           พุทธคุณ    คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัย เมตตามหานิยม

           สภาพ        เป็นพระที่ผ่านการใช้ ผิวเปิด ดูง่าย 

Close Menu