พระท่ามะปราง เนื่อดิน กรุวัดสตือ พิษณุโลก
พระท่ามะปราง
กรุวัดสะตือ จังหวัดพิษณุโลก
กรุวัดสะตือ จังหวัดพิษณุโลก
เชื่อกันในหมู่นักสะสมพระเครื่องว่า พระท่ามะปราง มีพุทธคุณอันโดดเด่นเป็นยอดยิ่งในด้านคงกระพันชาตรี ทั้งนี้เนื่องจากเหตุการณ์ในครั้งปี พ.ศ. ๒๔๔๕ เมื่อครั้งพวกเงี้ยวประมาณ ๓๐๐ คน ได้ยกพวกเข้าปล้นเมืองแพร่
ครั้งนั้นพวกเงี้ยวได้ยึดครองเมืองแพร่ โดยยกเข้าตีทางประตูไชย เข้าแย่งชิงเงินบนที่ทำการไปหมด เจ้านายข้าราชการต่างคนต่างแยกย้ายกันหนีออกนอกเมืองจนหมดสิ้น ความทราบถึงทางกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) เป็นแม่ทัพยกไปปราบเงี้ยว
ในครั้งที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ได้ผ่านไปยังพิษณุโลก ได้ทราบถึงกิตติศัพท์ของ ‘พระท่ามะปราง’ แห่งวัดท่ามะปราง ซึ่งถูกลักลอบขุดออกมาบ้างแล้ว จึงได้สั่งให้เปิดกรุพระท่ามะปรางแห่งวัดท่ามะปรางขึ้นมา นำพระเครื่องแจกจ่ายทหาร
เล่าขานกันว่า ศึกในครั้งนั้นได้ทำการต่อสู้จนกระทั่งพวกเงี้ยวทิ้งปืนยอมแพ้ พระท่ามะปรางจึงได้รับการขนานนามว่า ‘พระท่ามะปรางเงี้ยวทิ้งปืน’
เป็นพระกรุยอดนิยมของเมืองพิษณุโลกอีกพิมพ์หนึ่งทีเดียว
กล่าวสำหรับพระท่ามะปรางนั้น ไม่ใช่เฉพาะที่ขุดพบ ณ วัดท่ามะปราง เพียงเท่านั้น หากยังมีพระท่ามะปรางในพื้นที่ของเมืองพิษณุโลกอีก เช่น
- พระท่ามะปราง กรุวัดสะตือ
- พระท่ามะปราง กรุวัดมหาธาตุ
- พระท่ามะปราง กรุวัดเจดีย์ยอดทอง
ในส่วนที่พบในเขตจังหวัดอื่นๆ ก็มีเช่นกัน
- พระท่ามะปราง กรุสุโขทัย
- พระท่ามะปราง กรุพิจิตร
- พระท่ามะปราง กรุกำแพงเพชร
- พระท่ามะปรางกรุสำปะซิว สุพรรณบุรี
และที่กล่าวถึงนี้ เป็นพระท่ามะปรางแห่งกรุวัดสะตือ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก ถึงกับมีบางท่านกล่าวว่าเป็นพระฝากกรุเอาไว้ แต่ความแตกต่างกันที่พบเห็นนั้นคือ พระท่ามะปราง กรุวัดท่ามะปราง จะเอามือกุมเข่า (พระชานุ) แบบเข่าใน คือ มือกุมพอดีหัวเข่า ส่วนในพระท่ามะปราง กรุวัดสะตือ มือกุมเข่าแบบเข่านอนก มองเห็นหัวเข่าอย่างชัดเจน
นั่นคือความแตกต่างประการหนึ่ง
พระท่ามะปราง เป็นพระปางมารวิชัย ประทับนั่งบนอาสนะฐานบัวเล็บช้าง มีพบด้วยกัน ๒ เนื้อ คือ เนื้อดินเผา และเนื้อชินเงิน
ครั้งนั้นพวกเงี้ยวได้ยึดครองเมืองแพร่ โดยยกเข้าตีทางประตูไชย เข้าแย่งชิงเงินบนที่ทำการไปหมด เจ้านายข้าราชการต่างคนต่างแยกย้ายกันหนีออกนอกเมืองจนหมดสิ้น ความทราบถึงทางกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) เป็นแม่ทัพยกไปปราบเงี้ยว
ในครั้งที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ได้ผ่านไปยังพิษณุโลก ได้ทราบถึงกิตติศัพท์ของ ‘พระท่ามะปราง’ แห่งวัดท่ามะปราง ซึ่งถูกลักลอบขุดออกมาบ้างแล้ว จึงได้สั่งให้เปิดกรุพระท่ามะปรางแห่งวัดท่ามะปรางขึ้นมา นำพระเครื่องแจกจ่ายทหาร
เล่าขานกันว่า ศึกในครั้งนั้นได้ทำการต่อสู้จนกระทั่งพวกเงี้ยวทิ้งปืนยอมแพ้ พระท่ามะปรางจึงได้รับการขนานนามว่า ‘พระท่ามะปรางเงี้ยวทิ้งปืน’
เป็นพระกรุยอดนิยมของเมืองพิษณุโลกอีกพิมพ์หนึ่งทีเดียว
กล่าวสำหรับพระท่ามะปรางนั้น ไม่ใช่เฉพาะที่ขุดพบ ณ วัดท่ามะปราง เพียงเท่านั้น หากยังมีพระท่ามะปรางในพื้นที่ของเมืองพิษณุโลกอีก เช่น
- พระท่ามะปราง กรุวัดสะตือ
- พระท่ามะปราง กรุวัดมหาธาตุ
- พระท่ามะปราง กรุวัดเจดีย์ยอดทอง
ในส่วนที่พบในเขตจังหวัดอื่นๆ ก็มีเช่นกัน
- พระท่ามะปราง กรุสุโขทัย
- พระท่ามะปราง กรุพิจิตร
- พระท่ามะปราง กรุกำแพงเพชร
- พระท่ามะปรางกรุสำปะซิว สุพรรณบุรี
และที่กล่าวถึงนี้ เป็นพระท่ามะปรางแห่งกรุวัดสะตือ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก ถึงกับมีบางท่านกล่าวว่าเป็นพระฝากกรุเอาไว้ แต่ความแตกต่างกันที่พบเห็นนั้นคือ พระท่ามะปราง กรุวัดท่ามะปราง จะเอามือกุมเข่า (พระชานุ) แบบเข่าใน คือ มือกุมพอดีหัวเข่า ส่วนในพระท่ามะปราง กรุวัดสะตือ มือกุมเข่าแบบเข่านอนก มองเห็นหัวเข่าอย่างชัดเจน
นั่นคือความแตกต่างประการหนึ่ง
พระท่ามะปราง เป็นพระปางมารวิชัย ประทับนั่งบนอาสนะฐานบัวเล็บช้าง มีพบด้วยกัน ๒ เนื้อ คือ เนื้อดินเผา และเนื้อชินเงิน
พุทธคุณ มีชื่อเสีงด้านคงกระพันชาตรี
สภาพ กระเทาะด้านหลัง ทำให้ดูง่ายและทำให้มีความงามอีกแบบหนึ่ง
ราคา ติดต่อสอบถาม