วัดพระรูป ต.ท่าพี่เลี้ยง จ.สุพรรณบุรี เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นแหล่งกำเนิดพระกรุเก่าที่มีชื่อเสียงหลายประเภท ซึ่งโดยส่วนใหญ่นำมาผูกกับวรรณคดีที่เข้าใจว่าแต่งขึ้นสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 คือ ‘ขุนช้างขุนแผน’ ท่านสุนทรภู่ ยังได้รจนาใน ‘นิราศสุพรรณ’ เมื่อปี พ.ศ.2378 ไว้ว่า
"ฝั่งซ้ายฝ่ายฟากโน้น พิศดาร
มีวัดพระรูปบุราณ ท่านสร้าง
ที่ถัดวัดประตูสาร สงฆ์สู่ อยู่เอย
หย่อมย่านบ้านขุนช้าง ชิดข้างสวน บัลลังค์"
พระกรุวัดพระรูปที่ขึ้นชื่อลือชาและเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง คือ ขุนแผนไข่ผ่าซีก หรือที่เรียกว่า “พระขุนแผนไข่ผ่า” นอกจากนี้ยังมี พระพลายงาม พระขุนไกร และ พระกุมารทอง (พระยุ่ง) เป็นต้น
ผู้สร้าง
พระขุนแผนกรุวัดพระรูป นี้ เข้าใจว่าสร้างในสมัยอู่ทอง ซึ่งนับว่ามีอายุเก่าแก่กว่าพระตระกูลขุนแผนทั้งหมด
การค้นพบ
พระกรุวัดพระรูป นั้น มีการค้นพบอยู่ตามพื้นทั่วไปภายในบริเวณวัด สันนิษฐานว่า ในสมัยก่อนน่าจะมีพระเจดีย์อยู่หลายองค์ แต่ทรุดโทรมไปตามกาลเวลาและปรักหักพังลงมา ทำให้องค์พระในพระเจดีย์กระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ยิ่งถ้าฝนตกก็จะพบองค์พระโผล่ขึ้นมาให้เห็นเสมอ
ในปี พ.ศ.2508 ทางวัดมีความประสงค์จะสร้างพระอุโบสถใหม่แทนหลังเก่าซึ่งชำรุดทรุดโทรม จึงได้ประกาศให้ชาวบ้านให้มาช่วยขุดดินรอบๆ โบสถ์ โดยไม่มีค่าจ้าง ใครได้พระก็เอาไป พอขุดไปเพียงศอกเศษๆ ก็เริ่มพบพระ ยิ่งขุดลึกก็ยิ่งพบพระมากขึ้น บางคนที่ไม่ได้พระก็มี อันนี้น่าจะเกี่ยวกับบุญวาสนา ต่อมาในปี พ.ศ.2510 ทางวัดเอารถมาเกรดปรับพื้นที่ของวัด ก็ยังพบพระอีกบ้างประปราย และในปี พ.ศ.2513 ทางวัดมีความประสงค์จะก่อสร้างวิหารพระปางไสยาสน์ จึงได้ประกาศให้ชาวบ้านช่วยกันเช่นเดิม ก็ได้พระตระกูลขุนแผนไปอีกร้อยกว่าองค์
พุทธคุณ คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัย นำ
สภาพ ผ่านการใช้
ราคา ติดต่อสอบถาม